สังเขปประวัติพระภิกษุสงฆ์

พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก)

พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก) เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก)
พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก)

พระนักปฏิบัติ ผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงาม เป็นเนื้อนาบุญของชาวพุทธ ที่ควรแก่การสักการบูชา

หลวงพ่อท่านมีนามก่อนอุปสมบทว่า บุญเพ็ง เหล่าหงษา ท่านถือกำเนิดจากโยมบิดาคือนายเอี่ยม โยมมารดาคือนางคง ในวันมาฆบูชา ปีมะโรง จ.ศ.๑๒๙๐ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๑ ที่บ้านบัวบาน ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม มีพี่น้องร่วมท้อง ๗ คน เป็นชาย ๕ คน หญิง ๒ คน ได้แก่ นางแถว พระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) นางสาย นายเลียบ นายเลี่ยม และนายสำเริง ตามลำดับ โดยมีหลวงพ่อเป็นลูกหล้า คือ บุตรคนสุดท้อง ปัจจุบันพี่ของท่านมรณภาพ และเสียชีวิตหมดแล้ว

ครอบครัวของหลวงพ่อมีอาชีพทำไร่ทำนาตามสภาพของคนในชนบท มีฐานะพอมีอันจะกินตระกูลหนึ่งในหมู่บ้านบัวบาน หลวงพ่อมีโอกาสศึกษาถึงชั้นประถมปีที่ ๔ ท่านเล่าให้ฟังว่าท่านเคยควบคุมดูแลการหลบลูกระเบิดสมัยสงครามอินโดจีนเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๘๓ ตั้งแต่ท่านเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ ๔ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มีความฉลาดเฉลียว และมั่นใจในตนเองมาตั้งแต่เด็ก

ในการประกอบสัมมาชีพของท่านในแต่ละวันท่านก็ยังคิดเมตตาสงสารวัวควายที่ท่านใช้งาน และคิดสลดสังเวชการวนเวียนดำเนินชีวิตของผู้คนรอบข้างที่ทุกข์ยาก สู้ภัยธรรมชาติปีแล้วปีเล่า แม้ว่าหลวงพ่อท่านอยากจะบวช แต่ก็ต้องรับผิดชอบในการทำงานแทนบรรดาพี่ชายซึ่งบวชกันไปหมด จนกระทั่งท่านมีอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้มีโอกาสบวช ก่อนออกบวชท่านก็ได้ทดแทนคุณบิดามารดาด้วยการสร้างบ้านให้บิดามารดาและพี่น้องด้วยตัวท่านเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่หาไม้จนกระทั่งสำเร็จเป็นบ้านอยู่อาศัยได้

มูลเหตุที่หลวงพ่อท่านมีความตั้งใจอยากจะบวชเป็นพระแทนการสร้างครอบครัวเฉกเช่นชาวบ้านอื่น ก็คงเป็นเพราะท่านเกิดมาในตระกูลที่ฝักใฝ่ในทางศีลธรรม ประกอบกับพี่ชายของท่านคือพระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) ก็ได้บรรพชาตั้งแต่หลวงพ่อท่านยังเป็นเด็กจนได้เป็นพระกรรมฐานผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธบริษัทอย่างกว้างขวาง

หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม แม่ทัพธรรม พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์หลายรูปได้เดินทางมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มาธุดงค์กรรมฐานที่โคกเหล่างา (วัดป่าวิเวกธรรมในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นป่ารก เป็นป่าช้าผีดุ แล้วก็มีหลวงปู่เทสก์ หลวงปู่อ่อน หลวงปู่ภูมิ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่กงมา หลวงปู่คำดี ฯลฯ มาอยู่รับการอบรมธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่สิงห์ พอออกพรรษาเข้าหน้าแล้ง บรรดาท่านเหล่านี้ก็พากันไปแสวงหาที่วิเวกภาวนาโดยหลวงปู่เทสก์ก็ได้ไปแสวงหาที่วิเวกกรรมฐานทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น คือไปทางจังหวัดมหาสารคาม ท่านได้ไปพักอยู่ที่ป่าช้าหัวหนองตอกแป้น บ้านบัวบาน อำเภอเชียงยืน และได้อบรมหลักการปฏิบัติธรรมแก่ญาติโยมบ้านบัวบาน รวมทั้งโยมบิดา มารดา ของหลวงพ่อท่านด้วย โยมบิดา มารดาของหลวงพ่อมีความเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่เทสก์เป็นอย่างยิ่ง

จึงได้มอบบุตรชายคนโตคือ พระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) เป็นลูกศิษย์ติดตามหลวงปู่เทสก์ไปธุดงค์กรรมฐานตามสถานที่ต่าง ๆ จนกระทั่งได้อุปสมบท และ ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ภูมี วัดคีรีวัลล์ อำเภอท่าช้าง จังหวัดนครราชสีมา จนเกิดความมั่นใจในความรู้ความเข้าใจในธรรมะคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็นึกถึงญาติพี่น้องทางบ้าน จึงกลับมานำญาติพี่น้องบวช และได้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิต บ้านบัวบาน ในปี ๒๔๘๕ เพื่อโปรดโยมบิดามารดาและญาติพี่น้อง ในขณะนั้นหลวงพ่อท่านมีอายุประมาณ ๑๔-๑๕ ปี และต้องรับภาระการประกอบอาชีพดูแลครอบครัว นี้จึงเป็นเหตุให้ท่านไม่เคยมีโอกาสบรรพชาเป็นสามเณร

ในการประกอบอาชีพ หลวงพ่อท่านก็สามารถทำได้ดีกว่าชาวบ้านทั่วไป ท่านรู้จักประกอบอาชีพหารายได้นอกฤดูทำนา จนมีเงินทองมาจุนเจือครอบครัวอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ หลวงพ่อยังมีพรสวรรค์ในการรักษาโรคโดยวิธีการพื้นบ้านตามที่โยมบิดาท่านสอนให้ เช่น รักษาตาต้อ คางทูม ฯลฯ เป็นเหตุให้ท่านสอนให้พวกลูกศิษย์ใช้คาถาและพลังจิตรักษาโรคมาจนกระทั่งปัจจุบัน ท่านบอกว่า เอาไว้ช่วยตนเองและสงเคราะห์คนอื่นยามที่ไม่อาจรับการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันได้

หลวงพ่อท่านอุปสมบทในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๙๒ ที่วัดศรีจันทร ์(ธรรมยุต) จังหวัดขอนแก่น โดยมีพระพิศาลสารคุณเป็นพระอุปัชฌายะ พระครูคัมภีรนิเทศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสุพจน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายา “กัปปโก” ซึ่งแปลว่า “ผู้สำเร็จ”

เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาที่วัดเทพนิมิต บ้านบัวบาน เป็นเวลา ๒ ปี ในระหว่างนั้น โยมบิดาได้ป่วย และเสียชีวิตในปี พุทธศักราช ๒๔๙๓ หลังจากจัดการฌาปนกิจศพโยมบิดาเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อจึงได้เดินทางมาศึกษาปริยัติธรรม และพำนักยังวัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จนถึงเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ โยมมารดาเสียชีวิต ท่านจึงเดินทางกลับมายังวัดป่าวิเวกธรรม เพื่อจัดการงานศพของโยมมารดา และท่านก็ไม่กลับไปศึกษาปริยัติธรรมอีก ขณะนั้นท่านได้วิทยฐานะเป็น นักธรรมโท

ในปพุทธศักราช ๒๔๙๕ พระพี่ชายคือ พระครูศีลสารวิมล ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรม หรือวัดเหล่างา หลวงพ่อท่านจึงจำพรรษาที่วัดเทพนิมิต บ้านบัวบานเพียงองค์เดียว เป็นเวลา ๕ ปี ต่อมาจึงได้ติดตามพระพี่ชายมาจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม เมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๙๙

ระหว่างนั้นหลวงพ่อได้เดินทางไปธุดงค์ตามสถานที่ต่าง ๆ โดยไปทางโคราช และอรัญญประเทศ จนกระทั่งข้ามไปยังประเทศกัมพูชาระหว่างทางท่านก็ได้ผจญกับสัตว์ร้ายและโรคภัยสารพัด และยังได้มีโอกาสช่วยเหลือรักษาโรคภัยให้แก่ชาวบ้าน หลวงพ่อเล่าว่าการเดินธุดงค์ส่วนมากใช้เท้าเปล่าและเอารองเท้าพาดบ่าเพราะรองเท้าตัดจากหนังควายแห้งใส่แล้วกัดเท้าเจ็บ แต่ถ้าเข้าป่ามีหนามจึงนำออกมาสวมจนกระทั่ง ปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ซึ่งขณะนั้น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสันติธรรม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เดินทางมายังจังหวัดขอนแก่นและแวะเยี่ยมพระครูศีลสารวิมล หลวงพ่อจึงได้มีโอกาสฟังธรรมจากหลวงปู่สิม เป็นเหตุให้ท่านมีโอกาสเข้าใจในเรื่องการภาวนาที่ลึกซึ้งมากขึ้น และหลวงปู่สิมได้ชวนหลวงพ่อให้ไปอยู่เชียงใหม่ด้วยกัน หลังจากหลวงปู่สิมเดินทางกลับไปแล้ว หลวงพ่อจึงตัดสินใจเดินทางติดตามไปโดยลำพัง หลวงพ่อเล่าว่าท่านขึ้นรถไฟเข้ากรุงเทพฯ ไปแวะพักค้างคืนที่วัดบรมนิวาส เชิงสะพานกษัตริย์ศึกแล้วนั่งรถไฟต่อไปถึงเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓

หลวงพ่อได้รับการฝึกหัดอบรมกรรมฐานจากหลวงปู่สิม และได้ติดตามหลวงปู่สิมไปธุดงค์กรรมฐานที่ภูกระดึง จังหวัดเลย ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นป่าที่มีสัตว์ร้ายอยู่มาก แต่หลวงปู่สิมก็นำท่านบุกป่าฝ่าดงไปเพื่อแสวงหาโมกขธรรม โดยอาศัยความสงบของจิตและ “พุทโธ” เป็นเครื่องต่อสู้กับความทุรกันดาร และสัตว์ร้ายนานาชนิด

ต่อมาหลวงพ่อยังได้มีโอกาสไปศึกษาธรรมะกับหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และได้สั่งสมความรู้ และไหวพริบปฏิภาณในการแก้ไขปัญหาธรรมะจากหลวงปู่ตื้อ รวมทั้งด้านอิทธิวิธีซึ่งหลวงปู่ตื้อท่านมีความเป็นเลิศ ยามว่างหลวงพ่อท่านจะเล่าให้บรรดาสานุศิษย์ฟังถึงความสงบเย็น ความมุ่งมั่น อดทน ความกล้าหาญ เมตตา และเสียสละของหลวงปู่สิม และปฏิภาณ ไหวพริบ อิทธิฤทธิ์ ของหลวงปู่ตื้อ ซึ่งหลวงพ่อท่านรับมาปฏิบัติจนเท่าทุกวันนี้

ในระหว่างนี้เป็นเวลาประมาณ ๔ ปี หลวงพ่อท่านได้ใช้ช่วงเวลาออกพรรษาในฤดูแล้ง ธุดงค์กรรมฐานไปตามป่าเขาในภาคเหนือตอนบน ได้ประสบกับสิ่งลึกลับมหัศจรรย์มากมาย และต้องต่อสู้กับภัยอันตรายนานัปการ ตามแนวทางที่ครูบาอาจารย์ของท่านได้ดำเนินไปก่อนแล้ว และระหว่างธุดงค์กรรมฐานท่านก็ยังได้สั่งสอนอบรมภาวนาให้พระภิกษุที่เดินทางไปด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ

จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ หลวงพ่อได้ไปจำพรรษาที่วัดคำหวายยาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เป็นเวลา ๒ ปี เพื่อไปวิเวกภาวนา เนื่องจากวัดคำหวายยางเป็นวัดที่มีความทุรกันดาร และขึ้นชื่อเรื่องผีดุ ที่วัดนี้หลวงพ่อก็ได้อบรมภาวนาให้ลูกศิษย์หลายคนให้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง และบางคนยังใช้พลังจิตช่วยเหลือผู้คนที่ประสบปัญหาต่าง ๆ มาจนปัจจุบัน

ในด้านการแสดงพระธรรมเทศนาอบรมพุทธบริษัท หลวงพ่อท่านพัฒนาเทคนิคเฉพาะตัวของท่านตั้งแต่ครั้งบวชใหม่ ๆ ซึ่งยังมีความประหม่าอยู่มาก แต่ก็ต้องเทศน์ตามโอกาสและประเพณีอย่างไรก็ตามจากไหวพริบปฏิภาณของท่าน และจากการฟังเทศน์ของครูบาอาจารย์ในสมัยนั้น ซึ่งแสดงตามงานต่าง ๆ เกือบทุกคืน นอกจากนี้พระพี่ชาย คือ พระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) ก็เป็นนักเทศน์ที่มีสำนวนโวหารไพเราะ จับใจ ญาติโยมเป็นอันมาก รวมทั้งจากการติดตามรับฟังการแสดงธรรม และการแก้ปัญหาธรรมะของครูบาอาจารย์ มี หลวงปู่สิม และหลวงปู่ตื้อ เป็นอาทิ ทำให้หลวงพ่อท่านมีความเป็นเลิศในการเป็นนักเทศน์ อีกประการหนึ่ง

ในปี พุทธศักราช ๒๕๐๘ หลวงพ่อได้มีโอกาสไปร่วมงานศพพระเถระที่จังหวัดสงขลา และได้รับนิมนต์ขึ้นเทศน์ ๒ ธรรมาสน์ทั้งที่อาพาธด้วยไข้หวัด แต่กระนั้นท่านก็เทศน์ได้ดีจนกระทั้งหลวงปู่สิม ซึ่งเป็นพระอาจารย์กรรมฐานของท่านเองออกปากชมว่าเทศน์ดี ญาติโยมจากวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งไปร่วมงานในครั้งนั้นเกิดความประทับใจในปฏิภาณของท่านยิ่งนัก จึงกราบอาราธนาท่านไปจำพรรษาที่วัดอโศการามตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ ในระหว่างพรรษาท่านได้แสดงพระธรรมเทศนาอบรมพุทธบริษัทอย่างสม่ำเสมอ บางครั้งท่านแสดงธรรมวันละ ๓ รอบ รอบละเกือบ ๒ ชั่วโมง เนื้อหาเผ็ดร้อน ตรงประเด็นเกี่ยวกับจิตตภาวนาล้วน ๆ ไม่มีจืด ไม่มีซ้ำ ลูกศิษย์รุ่นเก่าที่ได้รับการฝึกอบรมจิตตภาวนาในยุคนั้นยังมีปรากฏให้เห็นมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันหลายท่าน ในขณะนั้นหลวงพ่อท่านยังมีอายุไม่ถึง ๔๐ ปี ด้วยซ้ำไป

ชื่อเสียงในการเป็นนักเทศน์ของหลวงพ่อขจรขจายมาจนถึงวัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน โดยมีอุบาสก อุบาสิกา นำมาเล่าให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมมธโร) เจ้าอาวาสในขณะนั้นฟัง เมื่อสมเด็จฯ ท่านซักถามถึงชื่อเสียงก็ทราบว่ารู้จักกันอยู่ก่อน จึงให้พระเถระในวัดพระศรีฯ ไปรับมา แต่หลวงพ่อท่านก็ได้ผัดผ่อนไปก่อนเพื่อที่จะออกธุดงค์ไปวิเวกที่จันทบุรี เมื่อเข้าพรรษาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ หลวงพ่อจึงได้มาจำพรรษาที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน และได้อบรมจิตตภาวนาให้แก่ญาติโยมพุทธบริษัททางด้านนี้สลับกับที่วัด อโศการามเป็นเวลาเกือบ ๑๐ พรรษา โดยส่วนใหญ่จะจำพรรษาที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน ดังนั้นเมื่อหลวงพ่อพูดถึงสองวัดนี้ ท่านจึงพูดว่าเป็นวัดของท่านด้วยความคุ้นเคยอย่างยิ่งกับพระเณรและญาติโยมทั้งหลาย แต่ช่วงหลัง ๆ นี้ท่านเดินทางไปวัดอโศการามน้อยลง เนื่องจากมีปัญหาการจราจรติดขัด เดินทางไปไม่สะดวก ท่านจึงพำนักที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน ทุกครั้งที่เดินทางมากรุงเทพฯ โดยในปัจจุบันท่านเจ้าอาวาสได้จัดกุฎิเฉพาะให้ท่านคือ กุฎิ กี ประยูรหงส์ ด้านหน้าศาลากลางน้ำ

การแสดงพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อที่วัดอโศการามจะแสดงอบรมภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา บนวิหาร พร้อมกัน ซึ่งตามธรรมเนียมปฏิบัติของวัดอโศการาม จะมีการแสดงธรรมบนวิหารทุกคืน และในวันพระยังมีรอบเช้า และรอบบ่ายสาม แต่ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ตามปกติ สมเด็จฯ จะแสดงธรรมเอง อย่างไรก็ตามบางคราวสมเด็จฯได้นิมนต์ให้หลวงพ่อแสดงธรรมแทน โดยสมเด็จฯ นั่งฟังอยู่ด้วย

สหธรรมิกของหลวงพ่อที่ติดตามกันไปอยู่ที่วัดพระศรีฯ คือ ท่านพระอาจารย์ไท (ไท ฐานุตตโม) ซึ่งติดตามกันตั้งแต่ครั้งธุดงค์ที่ภาคเหนือ และวัดอโศการามในแต่ละวันจะมีบุคคลต่าง ๆ โดยเฉพาะอาจารย์จากวิทยาลัยครู (สถาบันราชภัฏในปัจจุบัน) ด้านหลังวัดมากราบท่านพระอาจารย์ไท และบางครั้งก็มีการสนทนาธรรมกัน ซึ่งท่านเหล่านี้มีปัญหายาก ๆ มาถามอยู่เสมอ แต่หลวงพ่อท่านก็เอาอยู่ด้วยปฏิภาณอันเลิศของท่าน ข้าพเจ้าจะขอยกตัวอย่างสักเรื่องหนึ่งคือในปีพุทธศักราช ๒๕๑๑ ซึ่งสหรัฐอเมริกาส่งยานอพอลโล ไปบนดวงจันทร์ อาจารย์ที่สถาบันราชภัฏก็แสดงความกังขาว่าเมื่อเป็นเช่นนั้นแสดงว่าที่พระพุทธเจ้าบอกว่ามีสวรรค์อยู่ข้างบนก็ไม่จริง เพราะยานอวกาศขึ้นไปบนดวงจันทร์แล้วก็ไม่เห็นมีสรรค์อยู่ข้างบนด้วยปฏิภาณ หลวงพ่อก็ตอบไปว่าถ้าอยากรู้ว่าจริงหรือไม่ก็ให้ลองตายดู อาจารย์ท่านนั้นงง หลวงพ่อจึงอธิบายต่อไปว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยบอกว่าสวรรค์เป็นที่ไปของผู้มีชีวิตอยู่ เมื่อตายไปแล้วต่างหาก ท่านจึงว่าไปสู่สุคติสวรรค์ อาจารย์ท่านนั้นจึงยอมจำนน

และที่วัดพระศรีมหาธาตุนี้เองที่หลวงพ่อท่านเริ่มอบรมภาวนาให้กับอุบาสก อุบาสิกา กลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งติดตามท่านมาหลังจากการนั่งฟังธรรมบนโบสถ์ ท่านก็ได้ใช้ใต้ถุนกุฏิเป็นที่อบรม ทั้งที่ยุงชุมมาก แต่ผู้อบรมและผู้รับการอบรมก็ไม่ย่อท้อ การอบรมกลุ่มเล็กนี้จะได้ผลดีมากกว่ากลุ่มใหญ่ และท่านเรียกลูกศิษย์รุ่นนั้นของท่านว่า “เหรียญรุ่นแรก” บางท่านก็ได้ติดตามอุปฐากและเป็นลูกศิษย์มาจนปัจจุบัน บางท่านเสียชีวิตไปแล้ว แต่ลูกหลานเหลนก็ยังตามมาเป็นลูกศิษย์อยู่ก็มี เคยมีลูกศิษย์ “เหรียญรุ่นแรก” มากราบหลังจากหายหน้าไปนาน เมื่อหลวงพ่อถามถึงการปฏิบัติจิตว่าเสื่อมหายไปหรือไม่ เพราะติดภาระครอบครัวไม่อาจนั่งภาวนาได้บ่อยครั้งเหมือนแต่ก่อน ลูกศิษย์ท่านนั้นตอบสมกับเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์ว่า นามธรรมเสื่อมหายไม่ได้หรอก

แนวทางการอบรมภาวนากลุ่มเล็กเช่นนี้ หลวงพ่อท่านดำเนินตามรอยพระพุทธเจ้า ท่านว่า ครั้งพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงสั่งสอนลูกศิษย์คราวละไม่กี่คน และให้นั่งภาวนาไปด้วย และก็ฟังเทศน์ไปด้วย ท่านบอกว่า มัวนั่งฟังเทศน์สวดมนต์จนปวดขา แล้วจึงมานั่งภาวนาก็พาลจะนั่งไม่ได้ บางคนเข้ามาถามคำถามเกี่ยวกับการภาวนา ท่านไม่ตอบ แต่ให้นั่งไปเลย และก็ได้เลย เลยไม่ต้องถามอีก ท่านเรียกลูกศิษย์เหล่านี้ว่า “ลูกศิษย์ลอยมา” ซึ่งส่วนใหญ่จะนั่งได้ ข้าพเจ้าเป็นลูกศิษย์มา ๒ ปีเศษ ได้รู้จักกับลูกศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่าที่เข้ามาฝึกอบรมกับท่าน สำหรับผู้ที่ตั้งใจจริงจังและไม่เคยไปฝึกภาวนาที่อื่นมาก่อนก็มักจะได้กันทุกคน พวกเราพึ่งตนเองได้ในการปฏิบัติ ส่วนจะก้าวไปไกลเพียงใดหรือทางใดก็แล้วแต่อุปนิสัยของเขาแต่ละคนหลวงพ่อไม่ส่งเสริมให้ลูกศิษย์ “บวชก่อนได้” แม้กระทั่งลูกศิษย์ที่เป็นชาย ถ้าอยากบวชท่านก็จะฝึกหัดภาวนาให้มีพื้นฐานดีก่อนจึงให้บวช ส่วนลูกศิษย์ฝ่ายหญิงซึ่งมีมากกว่าฝ่ายชาย ท่านก็ให้ปฏิบัติภาวนาไปและใช้ชีวิตแบบปุถุชน อีกทั้งยังสอนให้นำหลักธรรมและความสงบซึ่งเป็นผลจากการภาวนาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอีกด้วย

ในช่วงจำพรรษาที่วัดอโศการาม และวัดพระศรีมหาธาตุ เมื่อเข้าสู่ช่วงออกพรรษาหลวงพ่อท่านมักจะไปเที่ยวธุดงค์กรรมฐานบริเวณป่าเขาภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคอีสาน จนมีความชำนาญภูมิประเทศของป่าเขาในประเทศไทยแทบทั้งหมด ยกเว้นภาคใต้เท่านั้นที่หลวงพ่อท่านไม่ค่อยได้ไป ดังนั้น เมื่อเดินทางไปตามจังหวัดต่าง ๆ ที่มีฎีกานิมนต์ไปแสดงธรรม แม้จะเป็นวัดที่ท่านไม่คุ้นเคย แต่ท่านมีแผนที่อยู่ในสมองของท่าน จึงไม่ค่อยพลาดเรื่องเส้นทางเดินทาง

หลังจากสมเด็จพระมหาธีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) มรณภาพในปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ และเสร็จงานศพในราวเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๘ แล้วหลวงพ่อจึงได้เดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม จังหวัดขอนแก่นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากพระพี่ชายของท่าน (พระครูศีลสารวิมล) อาพาธและลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ๒๕๑๘ ขณะที่ท่านมีอายุได้ ๔๘ ปี และได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นที่พระครูวิเวกวัฒนาทร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๔ อายุ ๕๔ ปี

ดังได้กล่าวถึงในตอนต้นแล้ว วัดป่าวิเวกธรรม เดิมเป็นป่าช้าโคกเหล่างา ในปี พุทธศักราช ๒๔๗๑ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโมเดินทางจากจังหวัดอุบลราชธานีมาธุดงค์กรรมฐานทีโคกเหล่างา ด้วยเห็นว่าเป็นป่ารกชัฎมีต้นไม้ใหญ่นานาชนิดหนาแน่น มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากทั้งห่างไกลจากบ้านผู้คน ท่านจึงปักกลดบำเพ็ญภาวนา โดยต่อมาเมื่อมีลูกศิษย์ติดตามมาอีกหลายองค์ ท่านจึงได้สร้างเสนาสนะเป็นวัดเหล่างา หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า ในครั้งแรกชาวบ้านบางคนไม่พอใจเพราะหวงสถานที่ถึงขนาดลอบยิงหลวงปู่สิงห์ แต่ยิงไม่ออก

ตรงข้ามกับวัดป่าวิเวกธรรมหรือวัดเหล่างาเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ซึ่งจะมีคนไข้จากจังหวัดใกล้เคียงกับจังหวัดขอนแก่นเข้ารับการรักษา เมื่อเสียชีวิตลง ญาติจะไม่สามารถนำศพกลับไปยังบ้านเกิดได้ก็จะนำมาฝังในวัดนี้ บางครั้งศพมีจำนวนมากการฝังก็ไม่เรียบร้อย สุนัขก็จะคุ้ยศพลากเศษอวัยวะออกมา หลวงพ่อเล่าว่าบางครั้งพระลงศาลาฉัน สุนัขก็จะลากอวัยวะศพผ่านไปเป็นที่อุดจาดตา ท่านจึงพยายามรวบรวมปัจจัยจากลูกศิษย์ลูกหาในกรุงเทพฯ ก่อสร้างเมรุเผาศพขึ้นมา ทำให้ปัญหาดังกล่าวลุล่วงไปได้ และบริเวณป่าช้าก็มีการใช้ประโยชน์น้อยลง พอดีกับวิทยาลัยเทคนิคฯ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดขาดสถานที่ที่จะก่อสร้างสนามฟุตบอล จึงมาขอเมตตาหลวงพ่อท่าน ซึ่งหลวงพ่อท่านก็เมตตาด้วยเห็นแก่เยาวชนซึ่งต้องการสถานที่ออกกำลังกาย ท่านบอกดีกว่าให้เข้าไปติดยาเสพติด ดังนั้นในปัจจุบันมุมด้านตะวันออกของวัดมีสนามฟุตบอลอยู่ เด็กที่มาเล่นฟุตบอลส่วนใหญ่คงไม่ทราบว่าข้างใต้นั้นมีซากศพกองอยู่จำนวนมาก !!

หลวงพ่อท่านเล่าว่าท่านสร้างกุฏิหลังแรกด้วยองค์ท่านเอง และต่อมาท่านได้ดำเนินการสร้างศาลาขันตยาคมานุสรณ์เพื่อเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล และปฏิบัติธรรม ซึ่งได้ใช้มาจนปัจจุบัน นอกจากนี้ท่านยังได้รวบรวมปัจจัยก่อสร้างอุโบสถขนาดเล็กเพียงพอต่อการใช้เป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์ตามแบบสิมอีสานโบราณ นอกจากนั้นท่านสร้างรั้ววัดและอื่น ๆ อีกมาก จนอาจกล่าวได้ว่าสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ปรากฏที่วัดป่าวิเวกธรรมในปัจจุบันสำเร็จได้ด้วยบารมีของหลวงพ่อท่าน อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อไม่ได้มุ่งก่อสร้างถาวรวัตถุที่หรูหราเกินความจำเป็นหากแต่ยึดหลักความเรียบง่ายเหมาะแก่ประโยชน์ใช้สอย ดังนั้นแม้ว่าเมืองขอนแก่นจะเจริญเติบโตขึ้นจนเป็นเมืองล้อมวัด แต่เมื่อเข้าไปในวัดป่าวิเวกธรรมก็ยังคงมีบรรยากาศของวัดป่าซึ่งมีสิ่งก่อสร้างที่เรียบง่าย และมีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมอยู่ทั่วไป

ในช่วงปี พุทธศักราช ๒๕๔๑-๒๕๔๒ ถาวรวัตถุในวัดเริ่มทรุดโทรมตามกาลเวลา และไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ของสามเณรและลูกศิษย์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นมาก หลวงพ่อจึงได้เริ่มงานก่อสร้างซ่อมแซมถาวรวัตถุในวัดอีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มจากการก่อสร้างศาลาที่พักสำหรับลูกศิษย์จากกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดซึ่งเดินทางไปปฏิบัติธรรม ต่อมาท่านได้สร้างหอไตร (ศาลากลางน้ำ) ซ่อมแซมอุโบสถ และซ่อมแซมศาลาขันตยาคมานุสรณ์ ซึ่งก็ค่อยทะยอยสำเร็จลุล่วงไปด้วยบารมีและความเหนื่อยยากของหลวงพ่อท่าน

เหตุที่กล่าวว่าด้วยความเหนื่อยยากของหลวงพ่อ ก็เพราะหลวงพ่อไม่ใช่พระที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และไม่ได้มีลูกศิษย์ลูกหาประเภทศรัทธาทำบุญมากนัก เพราะลูกศิษย์ของท่านเป็นบุคคลที่มีทุกข์จึงแสวงหาทางพ้นทุกข์โดยการฝึกภาวนา ดังนั้นจึงไม่มีกำลังที่จะถวายปัจจัยให้หลวงพ่อทีละล้านบาทหรือสิบล้านบาท ดังเช่นครูบาอาจารย์บางองค์ หลวงพ่อจะสั่งวัสดุก่อสร้าง และจ้างแรงงานจากลูกศิษย์หรือใช้แรงพระเณรในวัดเมื่อมีผู้ศรัทธาทำบุญท่านก็ไม่เคยนำไปใช้จ่ายอะไร นอกจากเก็บเล็กผสมน้อยทะยอยจ่ายค่าวัสดุ ค่าแรง ไปจนหมด แต่หลวงพ่อก็ไม่เคยเป็นหนี้ใคร ซึ่งก็เป็นเรื่องที่แปลกมาก

แม้จะเหนื่อยยากแต่หลวงพ่อท่านก็ไม่เคยหยุดการดำเนินการสร้างถาวรวัตถุเพื่อสืบทอดพุทธศาสนา จริงอยู่การภาวนาชำระจิตใจให้พ้นจากอาสวกิเลสเป็นหัวใจหรือแก่นของพระพุทธศาสนา แต่การสร้างทานบารมีและการรักษาศีล ก็เป็นเปลือกของพระพุทธศาสนา ถ้าต้นไม้ปราศจากเปลือก มีแต่แก่น ก็ไม่อาจยั่งยืนเติบโต แผ่กิ่งก้านสาขามาได้ถึงเกือบสามพันปีเช่นนี้ การที่หลวงพ่อท่านริเริ่มงานก่อสร้างถาวรวัตถุในทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ พระพุทธรูป กุฎิ เสนาสนะ หรือจัดให้มีงานพิธีต่าง ๆ ก็เพื่อเป็นโอกาสให้บรรดาศิษย์ทั้งหลาย และพุทธบริษัท โดยทั่วไปได้มีโอกาสสร้างทานบารมี และศีลบารมีเพื่อประโยชน์ในกาลข้างหน้า

ข้าพเจ้าจับใจยิ่งนักในการแสดงธรรมของหลวงพ่อหลาย ๆ ครั้งที่ท่านยกเวสสันดรชาดกมาอ้างอิงคำสอนของท่าน ในตอนที่ มหาเวสสันดรเกลี้ยกล่อมพระกัณหา-ชาลี ให้เดินทางไปกับชูชก เพื่อเป็นการสร้างทานบารมี ในชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า พระศาสดาองค์เอกของเรา ว่า

“พระลูกเอ๋ย จงมาเป็นมหาสำเภาทองธรรมชาติ อันนายช่าง ชาญฉลาด จำลองทำด้วยกงแก้วประกำตรึงด้วยเพชรแน่นหนา ฝาระเบิดเปิดช่องน้ำ แก้วไพฑูรย์ กระทำเป็นลาโท โมราสลับ สลักกรอบลาย ลายดอกรัก นวรัตน์ฉลุฉลับเป็นรูปสัตว์ ภาพเพชรนิลแนมแกมหงส์ วิหคตระหนก ตะหนาบคาบลดารัตน์ มังกรกัดกอดแก้วเกี้ยวเป็นก้าน ขดดูสดใส ครั้นสำเร็จแล้วเมื่อใดพระบิดาก็จะทรงเครื่องต้น มงคลพิชัยสำหรับกษัตริย์ ดังจะเอาพระสมาบัติมากระหวัดทรงเป็นสร้อยสังวาลย์อยู่สรรพเสร็จ เอาพระขันตีต่างพระขรรค์เพชรอันคมกล้า สุนทรก็จะย่างเยื้องลงสู่ที่นั่งท้ายเภตราสูงระหง ปักธวนธงเศวตรฉัตร วายุวิเวกพัดอยู่เฉื่อยฉิว สำเภาทองก็จะล่องลิ่วไปตามลม สรรพสัตว์ก็จะชื่นชมโสมนัส ถึงจะเกิดลมกาลพาลระบือพัดคือโลโภ ถึงจะโตสักแสนโตตั้งตีเป็นลูกคลื่นประครืนโครมโถมกระแทก สำเภานี้ก็มิได้วอกแวกวาบหวั่นไหว ก็จะแล่นรี่ระเรื่อยเฉื่อยไปจนถึงเมืองแก้วอันกล่าวแล้วคือ เมืองอมตมหานครนฤพาน พระลูกเอ๋ยจงขึ้นมาช่วยพระบิดาให้เป็นบุตรทานในกาลครั้งเดียวนี้เถิด”

ข้าพเจ้ามาได้คิดว่าพระเวสสันดรท่านให้พระราชบุตรพระราชธิดาเป็นสำเภาทองนำท่านไปสู่แดนพระนิพพานและก็สำเภาทองคือพระกัณหา-ชาลีก็ได้ไปถึงแดนพระนิพพานในชาติต่อมาเช่นเดียวกัน

ในระยะเวลา ๒-๓ ปีที่ผ่านมาหลวงพ่อท่านได้ทำการก่อสร้างวิหารวัดป่ากู่ทอง ต.กู่ทอง อ.เชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งอยู่ห่างจากวัดป่าวิเวกธรรมไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เป็นวิหารขนาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบศาสนพิธีและอบรมภาวนา เช่นเดียวกับวิหารวัดอโศการาม เนื่องจากในปัจจุบันสถานที่วัดป่าวิเวกธรรม แออัด และถูกเมืองล้อมไปหมด ในขณะที่ผู้คนก็หลั่งไหลมาอบรมภาวนากันมากขึ้นโดยตลอด หลวงพ่อท่านจึงสร้างสถานที่สำรองไว้ วัดป่ากู่ทองเป็นวัดเก่าโดยมีซากเจดีย์หรือกู่ทองซึ่งกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและอยู่ไม่ไกลจากบ้านบัวบาน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลวงพ่อท่าน การก่อสร้างวิหารนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ ๓๐ ล้านบาท ขณะนี้สำเร็จไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ขณะที่วิหารวัดกู่ทองยังสร้างไม่เสร็จ ปีที่แล้วผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น ซึ่งอยู่ตรงข้ามวัดขอเมตตาหลวงพ่อให้บริจาคเครื่องฟอกไต (ไตเทียม) พร้อมอุปกรณ์มูลค่าล้านบาทเศษ หลวงพ่อก็มีเมตตาให้บอกบุญไปยังเหล่าลูกศิษย์จัดผ้าป่าเครื่องล้างไตจนรวบรวมปัจจัยได้เพียงพอ และยังได้ตั้งกองทุนจัดซื้อน้ำยาสำหรับคนไข้อนาถาอีกด้วย เท่ากับการรวบรวมปัจจัยสร้างวิหารวัดกู่ทองต้องชะงักไป ๑ ปี ลูกศิษย์บางคนเริ่มท้อแท้และสับสนโดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำตลอด ๒ ปีที่ผ่านมา เขาเห็นว่าน่าจะสร้างวิหารวัดกู่ทองให้เสร็จก่อนจึงดำเนินการการอื่น บางท่านรู้สึกคล้อยตามการวิจารณ์เหล่านั้นและรู้สึกเสียกำลังใจ แต่มานึกถึงคำกล่าวที่พระเวสสันดรทรงสอนพระกัณหา-ชาลี ซึ่งหลวงพ่อท่านยกมาพูดแล้วจึงเกิดความเข้าใจว่า นี่ท่านกำลังให้พวกเราสร้างสำเภาทองเพื่อเดินทางต่างคนต่างเป็นสำเภาทอง และเป็นผู้นั่งของกันและกัน ช่วยกันสร้างช่วยกันพายไปสู่จุดหมายคือแดนอมตมหานครนฤพาน พอสร้างสำเภาทองในกรณีสร้างวิหารวัดกู่ทองนานเข้าพวกเราเริ่มยึดติดว่าเป็นสำเภาของเราก็เลยพาลจะยกสำเภาทองขึ้นแบกใส่ศรีษะเดินไป ท่านเลยให้เราหยุดลำนี้ไปก่อน แล้วไปเริ่มลำอื่นเพื่อให้คลายการยึดติดพาหนะในการเดินทาง เพื่อไม่ให้พวกเราลืมไปว่านี้เรากำลังสร้างทานบารมีอยู่เป็นการเสียสละมิใช่พยายามสะสมเงินทองข้าวของแข่งกัน แม้ว่าสิ่งที่สร้างขึ้นมาจะเป็นประโยชน์ในทางโลกก็ดี ในทางการสืบทอดศาสนาก็ดี แต่นั่นก็ยังเป็นเพียงเรื่องภายนอกซึ่งไม่อาจช่วยให้พ้นไปจากการเวียนเกิดเวียนตายได้ นอกจากต้องบำเพ็ญภาวนาบารมีต่อไปเท่านั้น

เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้วการร่วมแรงร่วมใจและร่วมปัจจัยถวายหลวงพ่อเพื่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ จึงไม่ได้มุ่งที่ความสำเร็จในการก่อสร้างถาวรวัตถุอีกต่อไป หากแต่มุ่งสะสมทานบารมี เพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้า หลวงพ่อท่านบอกว่าเหมือนปล่อยจรวดต้องมีเชื้อเพลิงไว้ให้พอและในขณะเดียวกันก็ยังได้สะสางการยึดมั่นถือมั่นไปในตัวด้วย

ที่วัดป่าวิเวกธรรม หลวงพ่อก็ยังคงอบรมภาวนาให้แก่พระเณร และบุคคลทั่วไปทุกค่ำคืน ตั้งแต่ ๒ ทุ่มถึง ๓ ทุ่ม และสนทนาตอบปัญหาจนถึงสี่ทุ่มเศษ กุฎิของหลวงพ่อสร้างให้มีห้องโถงสำหรับการนี้โดยเฉพาะ ปัจจุบันแต่ละคืนจะมีคนมานั่งเต็มจนล้น ผิดกับตอนที่ข้าพเจ้าเป็นลูกศิษย์ ใหม่ ๆ เมื่อ ๒ ปีก่อน ทุกวันที่ข้าพเจ้าไปฝึกภาวนาจะต้องคอยกังวลว่าวันนี้จะมีเพื่อนไหมหนอ อย่างมากก็ไม่เกิน ๑๐ คน ลูกศิษย์ของท่านมีความหลากหลาย ตั้งแต่ข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ นักธุรกิจ นักการธนาคาร อาจารย์มหาวิทยาลัย คนทำงานหาเช้ากินค่ำ และคนไม่มีงานทำ มีอายุตั้งแต่ ๑๐ ขวบ ถึง ๗๐ ปี แต่หลวงพ่อให้ความสนใจลูกศิษย์เสมอกัน ใครภาวนาได้ดี และท่านสามารถช่วยให้ดียิ่งขึ้นได้ ท่านก็จะให้ความสนใจเป็นพิเศษและในห้องภาวนา พวกเราไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ มีแต่ผู้ที่ภาวนาเก่ง จะได้รับการยกย่องชมเชย สนใจจากผู้อื่นมากกว่า คนที่ปวดขา เจ็บไข้ได้ป่วยหรือมีปัญหาบางประการ หลวงพ่อก็จะให้คนที่ภาวนาได้และใช้พลังจิตได้ดีช่วยเหลือกัน แต่พวกเราก็หลีกเลี่ยงที่จะไปแสดงภายนอกสถานที่ที่เรารวมตัวกัน หลวงพ่อสอนให้พวกเรารู้จักใช้พลังจิตในการช่วยเหลือผู้อื่นได้ตามกาลโอกาสอันเหมาะสม บางคนอาจบอกว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง พวกเราแต่ละคนโดยเฉพาะพวกที่มีตำแหน่งหน้าที่การงาน และสถานภาพทางสังคมในระดับสูงก็จะอายไม่อยากให้ใครรับทราบ และเกรงว่าจะถูกรบกวนมาก ก็เลยไม่ค่อยยอมใช้ประโยชน์จากพลังจิต แต่ข้าพเจ้ามาไตร่ตรองดูจากการปฏิบัติของตนเอง ที่มีระยะหนึ่งซึ่งการภาวนาเริ่มอยู่ตัว และจิตสามารถใช้งานได้แล้วเมื่อนำมาใช้ในการดูพลังของพระเครื่องก็ดี รักษาโรคก็ดี การกำหนดรู้ในสิ่งต่าง ๆ ในปัจจุบัน อดีต และอนาคตก็ดี ก็เหมือนกับเป็นการฝึกฝนให้จิตมีความชำนาญในการเข้าการออก เพราะสภาวะที่ใช้งานจิตนั้นเป็นการกำหนดลงไปเลย ซึ่งยิ่งทำก็ยิ่งชำนาญ พอมาเดินจิตทางวิปัสสนาจึงเห็นคุณประโยชน์ของการที่หลวงพ่อท่านฝึกให้เรามีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ เพราะทำให้สามารถพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน และรวดเร็ว บางครั้งเมื่อรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ แม้ด้วยอาการปกติไม่ต้องหลับตาก็สามารถกำหนดจิตรู้ความเป็นมาเป็นไปของสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และช่วยแก้ไขได้ทันท่วงที

ที่กุฏิกีประยูรหงส์ วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน ก็จะมีห้องโถงขนาดใหญ่ซึ่งหลวงพ่อใช้อบรมภาวนาในตอนเย็น แต่เวลาการอบรมที่วัดพระศรีมหาธาตุบางเขนไม่แน่นอนเพราะอุปสรรคด้านการจราจร บางวันคนก็จะมากจนล้นห้อง แต่บางวันก็มีไม่มีคนมากนัก ในขณะนั่งภาวนา บางครั้งท่านก็เทศน์กำกับแต่บางครั้งก็ให้นั่งไปเลย แต่ท่านไม่เคยทิ้งพวกเรา แม้กระทั่งอาพาธท่านก็จะเอนกายเฝ้าพวกเราอยู่บนเก้าอี้ยาว พวกเราก็จะนั่งภาวนากันไป

โดยปกติทั่วไปหลังจากออกจากที่ภาวนาแล้วหลวงพ่อจะเปิดโอกาสให้พวกเราถามปัญหาในการปฏิบัติ หรือรายงานผลการนั่ง บางคนขี้อายไม่กล้าถามไม่กล้ารายงาน หลวงพ่อท่านก็จะชี้ถามตรงตัวไปเลย คนที่ไม่มีอะไรจะรายงานหลวงพ่อก็ไม่เคยถาม ถ้าท่านถามคนไหนแสดงว่าคนนั้นเริ่มจะนั่งภาวนาได้ผล และคนนั้นก็จะมีคำตอบให้ท่านได้ขยายความให้ความรู้ผู้อื่นต่อไปอีก

ในการสอนภาวนาของหลวงพ่อนอกจากจะให้นั่งไปด้วยฟังการเทศน์กำกับไปด้วย ซึ่งต่างจากครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่ที่จะให้นั่งเองหลังฟังเทศน์แล้ว แนวทางการตอบปัญหาแก้ไขการปฏิบัติภาวนาก็แตกต่างกันหลายประการ ตัวอย่างเช่น เรื่องนิมิต ใครนั่งภาวนาได้นิมิตอะไร หลวงพ่อก็จะไม่ชี้ผิด ท่านบอกว่า เหมือนคนนอนหลับ แล้วฝัน ก็เขาฝันเห็นเช่นนั้นจริงๆ แล้วเราจะไปว่าเขาฝันไม่จริงได้อย่างไร นิมิตจากการภาวนาของคนแต่ละคนก็จริงสำหรับบุคลนั้นเหมือนกัน เวลาพวกเรานิมิตเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ยินเสียงต่าง ๆ ได้กลิ่นต่าง ๆ หลวงพ่อท่านก็จะบอกว่า นั่น! ดีแล้ว! ท่านบอกว่าไม่ต้องกลัวตัดนิมิต กลัวแต่ว่ามันจะไม่มีมาให้ติด ซึ่งก็เป็นอย่างที่ท่านว่า เพราะนานเข้าที่นิมิตมันก็ค่อย ๆ หมดของมันไปเอง พร้อมกับจิตใจที่พัฒนาให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิลึกไปตามลำดับ

ในเรื่องของการพิจารณา หรือการวิปัสสนา ก็เช่นกัน หลวงพ่อท่านไม่ใช้หลักการวิปัสสนาก่อนที่จะให้จิตมีความสงบเต็มที่ ท่านจะฝึกให้พวกเราทำความสงบให้เกิดความคล่องตัว เกิดความชำนิชำนาญในการเข้าการออกเพื่อเป็นฐานของวิปัสสนา เมื่อลูกศิษย์คนใดเดินจิตให้เกิดความสงบจนชำนาญในการรู้ การเห็นแล้ว หากยังชื่นชมสุขสมอยู่กับความสงบนานจนเกินไปท่านก็จะเตือนให้พาจิตทำงาน แต่แนววิปัสสนาที่ท่านสอน ท่านไม่ให้พิจารณาไปตามกระแสธรรมที่เกิดจากการอ่านหรือการฟัง แต่ท่านให้ค้นไปในจิต หากิเลส อาสวะที่หมักดองอยู่และชำระสะสางตามแต่ละคนไป โดยใช้ปัญญาในขั้นสูง ซึ่งถ้าจิตยังไม่มั่นคงแล้วก็ไม่อาจทำได้ง่าย ๆ ถ้าฝืนทำไปก็อาจเป็นผลเสียได้

ในการอบรมภาวนาสำหรับฆราวาส หลวงพ่อจะเน้นให้ดำเนินความสงบเพื่อความสุขสบายในความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน บางคนปวดศีรษะเนื่องจากความเครียด หรือไมเกรน บางคนวุ่นวายกับปัญหาเศรษฐกิจ บางคนวุ่นวายกับปัญหาส่วนตัว บางคนประสบปัญหาในการทำงาน บางคนถึงขนาดสติไม่ค่อยจะดี เมื่อมารับการอบรมภาวนาจากท่านปัญหาต่าง ๆ แม้ยังคงอยู่ แต่ด้วยจิตที่ได้รับความสุขสงบเข้าไปแทนที่ ท่านเหล่านั้นก็มีความพร้อมในการต่อสู้ และรับกับสภาพปัญหาได้ ศีรษะที่เคยปวด หนักทึบก็โล่งไปหมด และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น วัดป่ากู่ทองเป็นวัดเก่าโดยมีซากเจดีย์หรือกู่ทองซึ่งกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและอยู่ไม่ไกลจากบ้านบัวบาน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลวงพ่อท่าน การก่อสร้างวิหารนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ ๓๐ ล้านบาท ขณะนี้สำเร็จไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ขณะที่วิหารวัดกู่ทองยังสร้างไม่เสร็จ ปีที่แล้วผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น ซึ่งอยู่ตรงข้ามวัดขอเมตตาหลวงพ่อให้บริจาคเครื่องฟอกไต (ไตเทียม) พร้อมอุปกรณ์มูลค่าล้านบาทเศษ หลวงพ่อก็มีเมตตาให้บอกบุญไปยังเหล่าลูกศิษย์จัดผ้าป่าเครื่องล้างไตจนรวบรวมปัจจัยได้เพียงพอ และยังได้ตั้งกองทุนจัดซื้อน้ำยาสำหรับคนไข้อนาถาอีกด้วย

เท่ากับการรวบรวมปัจจัยสร้างวิหารวัดกู่ทองต้องชะงักไป ๑ ปี ลูกศิษย์บางคนเริ่มท้อแท้และสับสนโดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำตลอด ๒ ปีที่ผ่านมา เขาเห็นว่าน่าจะสร้างวิหารวัดกู่ทองให้เสร็จก่อนจึงดำเนินการการอื่น บางท่านรู้สึกคล้อยตามการวิจารณ์เหล่านั้นและรู้สึกเสียกำลังใจ แต่มานึกถึงคำกล่าวที่ พระเวสสันดรทรงสอนพระกัณหา-ชาลี ซึ่งหลวงพ่อท่านยกมาพูดแล้วจึงเกิดความเข้าใจว่า นี่ท่านกำลังให้พวกเราสร้างสำเภาทองเพื่อเดินทางต่างคนต่างเป็นสำเภาทอง และเป็นผู้นั่งของกันและกัน ช่วยกันสร้างช่วยกันพายไปสู่จุดหมายคือแดนอมตมหานครนฤพาน พอสร้างสำเภาทองในกรณีสร้างวิหารวัดกู่ทองนานเข้าพวกเราเริ่มยึดติดว่าเป็นสำเภาของเราก็เลยพาลจะยกสำเภาทองขึ้นแบกใส่ศรีษะเดินไป ท่านเลยให้เราหยุดลำนี้ไปก่อน แล้วไปเริ่มลำอื่นเพื่อให้คลายการยึดติดพาหนะในการเดินทาง เพื่อไม่ให้พวกเราลืมไปว่านี้เรากำลังสร้างทานบารมีอยู่เป็นการเสียสละมิใช่พยายามสะสมเงินทองข้าวของแข่งกัน แม้ว่าสิ่งที่สร้างขึ้นมาจะเป็นประโยชน์ในทางโลกก็ดี ในทางการสืบทอดศาสนาก็ดี แต่นั่นก็ยังเป็นเพียงเรื่องภายนอกซึ่งไม่อาจช่วยให้พ้นไปจากการเวียนเกิดเวียนตายได้ นอกจากต้องบำเพ็ญภาวนาบารมีต่อไปเท่านั้น

เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้วการร่วมแรงร่วมใจและร่วมปัจจัยถวายหลวงพ่อเพื่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ จึงไม่ได้มุ่งที่ความสำเร็จในการก่อสร้างถาวรวัตถุอีกต่อไป หากแต่มุ่งสะสมทานบารมี เพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้า หลวงพ่อท่านบอกว่าเหมือนปล่อยจรวดต้องมีเชื้อเพลิงไว้ให้พอและในขณะเดียวกันก็ยังได้สะสางการยึดมั่นถือมั่นไปในตัวด้วย

ที่วัดป่าวิเวกธรรม หลวงพ่อก็ยังคงอบรมภาวนาให้แก่พระเณร และบุคคลทั่วไปทุกค่ำคืน ตั้งแต่ ๒ ทุ่มถึง ๓ ทุ่ม และสนทนาตอบปัญหาจนถึงสี่ทุ่มเศษ กุฎิของหลวงพ่อสร้างให้มีห้องโถงสำหรับการนี้โดยเฉพาะ ปัจจุบันแต่ละคืนจะมีคนมานั่งเต็มจนล้น ผิดกับตอนที่ข้าพเจ้าเป็นลูกศิษย์ ใหม่ ๆ เมื่อ ๒ ปีก่อน ทุกวันที่ข้าพเจ้าไปฝึกภาวนาจะต้องคอยกังวลว่าวันนี้จะมีเพื่อนไหมหนอ อย่างมากก็ไม่เกิน ๑๐ คน ลูกศิษย์ของท่านมีความหลากหลาย ตั้งแต่ข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ นักธุรกิจ นักการธนาคาร อาจารย์มหาวิทยาลัย คนทำงานหาเช้ากินค่ำ และคนไม่มีงานทำ มีอายุตั้งแต่ ๑๐ ขวบ ถึง ๗๐ ปี แต่หลวงพ่อให้ความสนใจลูกศิษย์เสมอกัน ใครภาวนาได้ดี และท่านสามารถช่วยให้ดียิ่งขึ้นได้ ท่านก็จะให้ความสนใจเป็นพิเศษและในห้องภาวนา พวกเราไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ มีแต่ผู้ที่ภาวนาเก่ง จะได้รับการยกย่องชมเชย สนใจจากผู้อื่นมากกว่า คนที่ปวดขา เจ็บไข้ได้ป่วยหรือมีปัญหาบางประการ หลวงพ่อก็จะให้คนที่ภาวนาได้และใช้พลังจิตได้ดีช่วยเหลือกัน แต่พวกเราก็หลีกเลี่ยงที่จะไปแสดงภายนอกสถานที่ที่เรารวมตัวกัน หลวงพ่อสอนให้พวกเรารู้จักใช้พลังจิตในการช่วยเหลือผู้อื่นได้ตามกาลโอกาสอันเหมาะสม บางคนอาจบอกว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง พวกเราแต่ละคนโดยเฉพาะพวกที่มีตำแหน่งหน้าที่การงาน และสถานภาพทางสังคมในระดับสูงก็จะอายไม่อยากให้ใครรับทราบ และเกรงว่าจะถูกรบกวนมาก ก็เลยไม่ค่อยยอมใช้ประโยชน์จากพลังจิต แต่ข้าพเจ้ามาไตร่ตรองดูจากการปฏิบัติของตนเอง ที่มีระยะหนึ่งซึ่งการภาวนาเริ่มอยู่ตัว และจิตสามารถใช้งานได้แล้วเมื่อนำมาใช้ในการดูพลังของพระเครื่องก็ดี รักษาโรคก็ดี การกำหนดรู้ในสิ่งต่าง ๆ ในปัจจุบัน อดีต และอนาคตก็ดี ก็เหมือนกับเป็นการฝึกฝนให้จิตมีความชำนาญในการเข้าการออก เพราะสภาวะที่ใช้งานจิตนั้นเป็นการกำหนดลงไปเลย ซึ่งยิ่งทำก็ยิ่งชำนาญ พอมาเดินจิตทางวิปัสสนาจึงเห็นคุณประโยชน์ของการที่หลวงพ่อท่านฝึกให้เรามีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ เพราะทำให้สามารถพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน และรวดเร็ว บางครั้งเมื่อรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ แม้ด้วยอาการปกติไม่ต้องหลับตาก็สามารถกำหนดจิตรู้ความเป็นมาเป็นไปของสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และช่วยแก้ไขได้ทันท่วงที

ที่กุฏิกีประยูรหงส์ วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน ก็จะมีห้องโถงขนาดใหญ่ซึ่งหลวงพ่อใช้อบรมภาวนาในตอนเย็น แต่เวลาการอบรมที่วัดพระศรีมหาธาตุบางเขนไม่แน่นอนเพราะอุปสรรคด้านการจราจร บางวันคนก็จะมากจนล้นห้อง แต่บางวันก็มีไม่มีคนมากนัก ในขณะนั่งภาวนา บางครั้งท่านก็เทศน์กำกับแต่บางครั้งก็ให้นั่งไปเลย แต่ท่านไม่เคยทิ้งพวกเรา แม้กระทั่งอาพาธท่านก็จะเอนกายเฝ้าพวกเราอยู่บนเก้าอี้ยาว พวกเราก็จะนั่งภาวนากันไป

โดยปกติทั่วไปหลังจากออกจากที่ภาวนาแล้วหลวงพ่อจะเปิดโอกาสให้พวกเราถามปัญหาในการปฏิบัติ หรือรายงานผลการนั่ง บางคนขี้อายไม่กล้าถามไม่กล้ารายงาน หลวงพ่อท่านก็จะชี้ถามตรงตัวไปเลย คนที่ไม่มีอะไรจะรายงานหลวงพ่อก็ไม่เคยถาม ถ้าท่านถามคนไหนแสดงว่าคนนั้นเริ่มจะนั่งภาวนาได้ผล และคนนั้นก็จะมีคำตอบให้ท่านได้ขยายความให้ความรู้ผู้อื่นต่อไปอีก

ในการสอนภาวนาของหลวงพ่อนอกจากจะให้นั่งไปด้วยฟังการเทศน์กำกับไปด้วย ซึ่งต่างจากครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่ที่จะให้นั่งเองหลังฟังเทศน์แล้ว แนวทางการตอบปัญหาแก้ไขการปฏิบัติภาวนาก็แตกต่างกันหลายประการ ตัวอย่างเช่น เรื่องนิมิต ใครนั่งภาวนาได้นิมิตอะไร หลวงพ่อก็จะไม่ชี้ผิด ท่านบอกว่า เหมือนคนนอนหลับ แล้วฝัน ก็เขาฝันเห็นเช่นนั้นจริงๆ แล้วเราจะไปว่าเขาฝันไม่จริงได้อย่างไร นิมิตจากการภาวนาของคนแต่ละคนก็จริงสำหรับบุคลนั้นเหมือนกัน เวลาพวกเรานิมิตเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ยินเสียงต่าง ๆ ได้กลิ่นต่าง ๆ หลวงพ่อท่านก็จะบอกว่า นั่น! ดีแล้ว! ท่านบอกว่าไม่ต้องกลัวตัดนิมิต กลัวแต่ว่ามันจะไม่มีมาให้ติด ซึ่งก็เป็นอย่างที่ท่านว่า เพราะนานเข้าที่นิมิตมันก็ค่อย ๆ หมดของมันไปเอง พร้อมกับจิตใจที่พัฒนาให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิลึกไปตามลำดับ

ในเรื่องของการพิจารณา หรือการวิปัสสนา ก็เช่นกัน หลวงพ่อท่านไม่ใช้หลักการวิปัสสนาก่อนที่จะให้จิตมีความสงบเต็มที่ ท่านจะฝึกให้พวกเราทำความสงบให้เกิดความคล่องตัว เกิดความชำนิชำนาญในการเข้าการออกเพื่อเป็นฐานของวิปัสสนา เมื่อลูกศิษย์คนใดเดินจิตให้เกิดความสงบจนชำนาญในการรู้ การเห็นแล้ว หากยังชื่นชมสุขสมอยู่กับความสงบนานจนเกินไปท่านก็จะเตือนให้พาจิตทำงาน แต่แนววิปัสสนาที่ท่านสอน ท่านไม่ให้พิจารณาไปตามกระแสธรรมที่เกิดจากการอ่านหรือการฟัง แต่ท่านให้ค้นไปในจิต หากิเลส อาสวะที่หมักดองอยู่และชำระสะสางตามแต่ละคนไป โดยใช้ปัญญาในขั้นสูง ซึ่งถ้าจิตยังไม่มั่นคงแล้วก็ไม่อาจทำได้ง่าย ๆ ถ้าฝืนทำไปก็อาจเป็นผลเสียได้

ในการอบรมภาวนาสำหรับฆราวาส หลวงพ่อจะเน้นให้ดำเนินความสงบเพื่อความสุขสบายในความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน บางคนปวดศีรษะเนื่องจากความเครียด หรือไมเกรน บางคนวุ่นวายกับปัญหาเศรษฐกิจ บางคนวุ่นวายกับปัญหาส่วนตัว บางคนประสบปัญหาในการทำงาน บางคนถึงขนาดสติไม่ค่อยจะดี เมื่อมารับการอบรมภาวนาจากท่านปัญหาต่าง ๆ แม้ยังคงอยู่ แต่ด้วยจิตที่ได้รับความสุขสงบเข้าไปแทนที่ ท่านเหล่านั้นก็มีความพร้อมในการต่อสู้ และรับกับสภาพปัญหาได้ ศีรษะที่เคยปวด หนักทึบก็โล่งไปหมด และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ท่านไม่เคยบังคับให้ถือศีล นุ่งขาวห่มขาว หรือควบคุมกริยาความประพฤติต่าง ๆ แต่เมื่อจิตสู่ความสงบแล้ว ท่านเหล่านั้นก็เห็นผลเสียของการดำรงตนนอกกรอบศีลธรรมประเพณี และค่อย ๆ ปรับปรุงตนเองไปทีละน้อย การตำหนิลงโทษผู้อื่นก็ค่อยลดน้อยลงไปเพราะท่านสอนให้ “โอปนยิโก” คือ น้อมเข้าหาตัว เมื่อเห็นกิเลส เห็นผิดของตนเอง เขาก็ค่อยปรับปรุงตนเองให้ถูกต้อง และเมื่อผู้อื่นทำผิดก็คิดได้ว่าเราก็เคยผิดเช่นนี้ ก็เลยให้อภัยกันไปได้ ศีลธรรม-เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็เกิดขึ้นไปโดยอัตโนมัติ เป็นศีลแท้และธรรมแท้ที่เกิดขึ้นในใจ

ท่านสอนให้พวกเราดำรงความสงบไปก่อน เพราะยังมีภาระในชีวิตประจำวัน มีภาระครอบครัว ท่านมักกล่าวทีเล่นทีจริงอยู่เสมอว่า อย่าให้สำเร็จเร็วนัก เดี๋ยวลูกเต้าก็จะร้องไห้ตามหากัน และท่านยังมุ่งให้พวกเราปฏิบัติอยู่ที่สำนักในใจ อย่าไปเที่ยวค้นหาสำนักตามป่า ตามเขา ตามถ้ำ เพราะถ้าใจสงบไม่ได้แล้ว จะไปยังสถานที่วิเวกเพียงใดก็ไม่เกิดประโยชน์ หนำซ้ำยังจะทำให้เกิดปัญหาครอบครัว เพราะพ่อบ้านแม่บ้านเอาแต่ไปตะลอนตามสำนักต่าง ๆ และทิ้งลูกหรือสามีภรรยาให้มีปัญหาอยู่ที่บ้าน และพอกลับถึงบ้านก็เกิดความรู้สึกว่าดีกว่าผู้อื่นเพราะไปปฏิบัติธรรมมา เลยเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน    ท่านมักกล่าวทีเล่นทีจริงอยู่เสมอว่า อย่าให้สำเร็จเร็วนัก เดี๋ยวลูกเต้าก็จะร้องไห้ตามหากัน และท่านยังมุ่งให้พวกเราปฏิบัติอยู่ที่สำนักในใจ… เพราะถ้าใจสงบไม่ได้แล้ว จะไปยังสถานที่วิเวกเพียงใดก็ไม่เกิดประโยชน์ หนำซ้ำยังจะทำให้เกิดปัญหาครอบครัว เพราะพ่อบ้านแม่บ้านเอาแต่ไปตะลอนตามสำนักต่าง ๆ และทิ้งลูกหรือสามีภรรยาให้มีปัญหาอยู่ที่บ้าน

ดังนั้น การอบรมภาวนาฆราวาสโดยทั่วไปท่านจึงให้มาฝึกกับท่านวันละประมาณ ๑ ชั่วโมง เพียงไม่กี่ครั้ง เมื่อเข้าใจแล้วก็นำเทปกลับไปปฏิบัติเองต่อที่บ้าน และนาน ๆ ครั้งก็โทรศัพท์สอบถาม หรือเดินทางมาสอบถามรายงานความก้าวหน้าด้วยตัวเอง ซึ่งหลวงพ่อท่านก็จะเมตตาแก้ไขให้ทุกรายไป นี่คือเหตุที่หลวงพ่อท่านมีโทรศัพท์มือถือติดตัวและเปิดไว้เสมอ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติภาวนาหากแก้ไขไม่ได้ทันท่วงทีก็จะเกิดผลเสียหายได้ บางรายถึงกับเป็นบ้าไปก็มี แต่ลูกศิษย์ที่หลวงพ่อสอนทุกคนไม่เคยปรากฏว่ามีใครเป็นบ้าเพราะการภาวนา เพราะท่านจะสอนดักไว้หมดแล้วความกลัวจึงไม่มี ความสับสนก็ได้รับการแก้ไขโดยเร็ว และเกิดความมั่นใจในการก้าวเดินต่อไปตามแต่ความพร้อมของแต่ละคน

ในการอบรมหลวงพ่อท่านไม่เคยชี้นำพวกเราในด้านความรู้ความเห็นต่าง ๆ ลูกศิษย์หลายคนตั้งข้อสังเกตุว่าเวลาไปรายงานผลการภาวนากับท่านและก็เตรียมจะไปถามท่าน แต่ระหว่างที่ถูกท่านซักถาม ลูกศิษย์เหล่านั้นก็สรุปคำตอบได้เองโดยไม่ต้องถามท่านอีก ท่านบอกว่า ธรรมะเป็น สันทิฎฐิโก คือ ผู้ปฏิบัติดีแล้วย่อมรู้เองเห็นเอง และเป็น ปัจจัตตัง คือ รู้เฉพาะตน พอนานเข้า พวกเราก็พึ่งตนเองได้ แก้ไขปัญหาให้ตนเองได้ สมดังพุทธภาษิตที่ว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ฉะนั้น พวกเราจึงยึดถือพระพุทธเจ้าศาสดาองค์เอกเป็นสรณะ ยึดถือพระธรรมคำสั่งสอนเป็นสรณะและยึดถือพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าและพระธรรมก็คือ เรานั่นเอง นี่เป็นแนวทางที่หลวงพ่อท่านอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ ดังนั้น ลูกศิษย์ประเภท “ลูกในไส้” ของท่านจึงมีลักษณะสงบ และมั่นใจในตนเอง เป็นส่วนใหญ่ ส่วนลูกศิษย์ประเภท “หลายสำนัก” นั้น ข้าพเจ้าไม่ขอสรุปรวมในที่นี้

ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แม้กระทั่งต่างประเทศ หลวงพ่อท่านก็เคยไปอบรมภาวนาหลายครั้ง เช่น ที่ประเทศออสเตรเลีย ท่านได้เดินทางไปอบรมภาวนาให้แก่ชาวออสเตรเลีย จนพบความสงบหลายคน ทั้งที่หลวงพ่อพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ท่านบอกว่า ท่านใช้ภาษา “เยอรมัน” คือ ภาษาใครภาษามัน หรือก็คือภาษาจิต ซึ่งเป็นภาษาเดียวกันทั่วทั้งโลก

หลวงพ่อเคยเดินทางไปอินเดียหลายครั้ง ท่านบอกว่า ท่านได้ธรรมะ ที่นั่น ท่านมักจะเล่าให้บรรดาลูกศิษย์ฟังเกี่ยวกับประโยชน์ของการเดินทางไปประเภทอินเดีย ท่านไม่ได้ไปดูตึกรามบ้านช่องเหมือนคนอื่นเขา หากแต่ไปดูความทุกข์แบบที่องค์พระบรมศาสดาเคยพบเห็นในครั้งพุทธกาล รวมทั้งปูชนียสถานที่เป็นเครื่องยืนยันความมีอยู่จริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ท่านยังชี้ให้พวกเราเห็นด้านดีของความเป็นอยู่ของชาวอินเดียที่พวกเราไม่ค่อยมองเห็นกัน เช่น ท่านบอกว่า เวลาชาวบ้านที่นั่นมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันก็จะได้แต่ทะเลาวิวาท แต่ไม่ชกต่อยทำร้ายร่างกายกันบ่อยนัก ทำให้สังคมที่มีคนจำนวนมากอยู่กันไปได้ อีกทั้งการกินอยู่ของชาวอินเดียวก็ไม่ฟุ่มเฟือยมากมาย โดยดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงตามอัตภาพ

กลางปีที่แล้วหลวงพ่อได้เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๙-๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๒ โดยมีกิจนิมนต์ที่วัดเคลเลอร์ หรือวัดพุทธรัตนาราม รัฐเทกซัส เมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจหลัก คือ การฝังลูกนิมิต โบสถ์ที่สร้างเสร็จใหม่ของวัดนั้นแล้ว หลวงพ่อใช้เวลาว่างที่เหลืออบรมภาวนาให้ชาวไทยและชาวลาวที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น และก็มีคนได้ความสงบหลายคน ต่อจากรัฐเทกซัสหลวงพ่อได้เดินทางมายังรัฐลอสแองเจลิส และพำนักที่วัดป่าภูริทัตต์ ๓-๔ วัน และก็ได้พาให้ญาติโยมคนไทยฝึกภาวนาได้รับความสงบในเบื้องต้นหลายคน หลังจากกลับถึงประเทศไทยหลวงพ่อท่านได้เมตตาให้ส่งเทปและหนังสือไปให้ลูกศิษย์ที่อเมริกาอยู่เสมอ และหลายท่านภาวนาได้ดีขึ้นตามลำดับ และได้โทรศัพท์มารายงานความก้าวหน้าและสอบถามปัญหาในการปฏิบัติโดยตลอด และในปีนี้ คณะศิษย์ที่อเมริกา ก็เตรียมนิมนต์ท่านไปอบรมภาวนาตามรัฐต่าง ๆ ๔-๕ แห่ง ซึ่งคาดว่า ในปีนี้ท่านคงจะเดินทางไปพำนักที่ประเทศสหรัฐอเมริกาหลายเดือนเพื่ออบรมสั่งสอนพุทธบริษัทที่นั้น

ในด้านธาตุขันธุ์ของท่านโดยทั่วไป หลวงพ่อท่านมีสุขภาพแข็งแรง หลวงพ่อเคยอาพาธหนักเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ๒-๓ ครั้ง ตั้งแต่สมัยที่ท่านอยู่ที่วัดพระศรีมหาธาตุ ท่านเคยเป็นวัณโรคปอด และรับการรักษาจนหายดีแล้ว ท่านจึงเลิกสูบบุหรี่ และลองฉันหมากแทน ปีที่แล้วช่วงก่อนเดินทางไปประเทศสหรัฐ ท่านก็หยุดฉันหมากไปหลายเดือน ทำให้ลูกศิษย์ที่เคยเจียนหมากจีบพลูถวายเหงาไปตามกัน ช่วงปลายปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ หลวงพ่อมีอาการเวียนศีรษะและปวดศีรษะอยู่บ่อย ๆ พวกเรานิมนต์ท่านเข้ารับการตรวจร่างกาย และพบว่าความดันโลหิตสูง ต่อมาก็พบอีกว่า คลอเรสเตอรอลค่อนข้างสูง และบางครั้งก็มีน้ำตาลในเลือดสูง แพทย์ขอให้ท่านงดอาหารรสเค็ม อาหารจากเนื้อสัตว์ งดน้ำหวาน แต่ในทางปฏิบัติ ก็ยากที่จะทำเช่นนั้นได้ เพราะท่านฉันอาหารที่รับบิณฑบาตร และมีผู้ถวายมาซึ่งไม่อาจเลือกได้ ลูกศิษย์ ญาติโยมบางคนนำมาถวายแล้วยังนั่งจ้องดูอีกว่าท่านฉันหรือเปล่า ท่านก็ฉันให้ด้วยความเมตตา ตอนเย็นแต่ละวันจะมีน้ำหวาน น้ำอัดลมกระป๋องวางเต็มโต๊ะหน้าที่นั่งของท่าน ท่านก็ต้องจิบให้คนละเล็กละน้อย จึงเป็นการยากที่จะให้ท่านควบคุมอาหาร

พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก)
พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก)

ด้วยวัย ๗๒ ปี การที่หลวงพ่อนอนคืนละ ๒-๓ ชั่วโมง ทำให้ช่วงเวลากลางวันท่านต้องการการพักผ่อนเอนกายบ้าง บางวันท่านเดินทางจากกุฎิด้วยกิจนิมนต์ตั้งแต่ ๖ โมงเช้า และไปนั่งอยู่กับที่เพื่อเจริญพุทธมนต์และภัตตกิจรวมประมาณ ๕ ชั่วโมง พอกลับมาถึงกุฎิตอนบ่ายก็มีญาติโยม ลูกศิษย์ มารอท่าน ซึ่งท่านจะไม่เคยไล่ ท่านจะพูดคุยตอบคำถามไปจนเป็นที่พอใจ บางคนพูดคุยซักถามท่านอยู่ ๒-๓ ชั่วโมง พอถึงตอนเย็นลูกศิษย์ภาวนาก็ทะยอยกันมา ท่านก็ไม่มีเวลาพักผ่อนเอนกายเลยตลอดทั้งวัน กว่าจะได้หลับและหลับได้ก็ตี ๑ ตี ๒ เป็นเช่นนี้แทบทุกวันโดยท่านยังไม่ยอมให้จำกัดเวลาในการเข้าพบ พวกเราก็ได้แต่เฝ้าดูด้วยความเป็นห่วงธาตุขันธ์ของท่าน และอำนวยความสะดวกในการดำรงขันธ์และการปฏิบัติศาสนกิจของท่านตามที่จะสามารถทำได้ เพื่อจะให้ท่านได้อบรมสั่งสอนบุคคลในการภาวนาไปได้มากที่สุด แม้พวกเราจะทราบดีก็ตาม สักวันหนึ่งหลวงพ่อก็จะต้องจากพวกเราไป และท่านก็ได้ปรารภเตือนในเรื่องนี้อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้พวกเราตั้งในความประมาท

หลวงพ่อจะให้ความสนใจข่าวสารบ้านเมืองมาก ท่านรู้จักชื่อเสียงเรียงนามของนักการเมือง และบุคคลสำคัญต่างๆ และท่านก็นำหัวข้อข่าวที่เป็นที่สนใจของสังคมในขณะนั้นมาเป็นข้อต้นในการแสดงธรรมได้อย่างเหมาะเจาะ ที่วัดที่ขอนแก่นหลวงพ่อจะดูข่าวทางโทรทัศน์ และที่กุฎิวัดพระศรีมหาธาตุท่านจะอ่านหนังสือพิมพ์ นี่ก็เป็นอีกเหตุหนึ่งที่ท่านมีความเข้าใจกิเลสของคนได้อย่างลึกซึ้ง และแก้ปัญหาให้ญาติโยมที่เข้ามาปรึกษาท่านได้เสมอ

หลวงพ่อสอนว่าอย่าตำหนิกิเลส เพราะมีกิเลสเราจึงได้เกิดเป็นคน อยากทำบุญ อยากได้บุญ อยากรักษาศีล อยากภาวนา อยากพ้นทุกข์ อย่าคิดว่าจะทำลายกิเลสได้ เพราะกิเลสเป็นของประจำโลก ขนาดพระพุทธเจ้ายังไม่ทำลายกิเลส แต่ท่านใช้วิธีหนีหนีโลก หนีกิเลส ดังนั้น คนที่มีกิเลสหนา คนที่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย คนที่ไม่มีความรู้ในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจึงมีสิทธิ์เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อได้อย่างเต็มที่ ท่านว่าถ้าไม่มีกิเลสก็ไม่ต้องมาหาท่าน ถ้าไม่วุ่นวาย ไม่ฟุ้งซ่านก็ไม่ต้องมาหาท่าน ถ้ารู้ดีแล้วก็ไม่ต้องมาปฏิบัติให้เสียเวลาอีก นี่คือหลวงพ่อ ผู้ซึ่งไม่เคยปิดกั้นโอกาสในการปฏิบัติธรรมของผู้ใดเลย ท่านยกตัวอย่างพระสาวกในครั้งพุทธกาลว่ามีใครบ้างที่ดีมาก่อนที่จะมาพบพระพุทธเจ้า ส่วนใหญ่ก็มากับกิเลส มากับความวุ่นวาย มากับความรำคาญ มากับโมหะจริต ทั้งสิ้น พวกเราที่เป็นลูกศิษย์ก็ได้แก่ซึมซับเอาแนวทางของหลวงพ่อไปใช้ในชีวิตประจำวัน คือ ให้โอกาสผู้อื่น และเชื่อว่าคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงจากไม่ดีเป็นดีได้

หลวงพ่อยังสอนให้พวกเรามีเมตตาสงสาร สงเคราะห์ผู้ที่ยากไร้ เวลาท่านรับบิณฑบาตอาหารแห้งและเครื่องอุปโภคบริโภค นอกจากท่านจะให้นำไปทานตามสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ แล้ว ท่านยังให้นำไปสงเคราะห์นักโทษที่เรือนจำอีกด้วย เวลาแม่ค้าขายของไม่ได้ ท่านก็จะเมตตาให้ช่วยซื้อจำนวนมาก เวลานั่งรถไปตามท้องถนนท่านก็จะชี้ให้เห็นความทุกข์ยากของตำรวจซึ่งต้องยืนตากแดดตากฝน และคอยเตือนไม่ให้พวกเราทำผิดกฎจราจร หรือทำผิดแล้วก็ให้ยอมรับผิดและรับการลงโทษเพื่อไม่ให้สร้างปัญหาหนักใจแก่ตำรวจ บางครั้งท่านก็จะแจกวัตถุมงคลให้ตำรวจเป็นกรณีพิเศษ แต่ละวันจะมีคนที่ไม่มีค่าโดยสารรถกลับบ้าน พ่อค้า แม่ขาย เข้ามาขอรับความเมตตาจากท่านจำนวนมาก ซึ่งท่านก็จะให้ความเมตตาอยู่เสมอ การได้อยู่รับใช้หลวงพ่อและได้เน้นความเมตตาของท่านทำให้พวกเราเริ่มมองเห็นและเข้าใจความทุกข์ยากลำบากของผู้อื่น และ “ติดดิน” โดยไม่รู้ตัว   การเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อ สำหรับหลาย ๆ คนจึงเป็นการเปลี่ยนชีวิตใหม่อย่างสิ้นเชิง…ยังทำให้เราสิ้นสงสัยในคำสรรเสริญองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “โย อิมัง โลกัง สะเทวกัง สะมาระกัง สะพรัมมะกัง สัสสะมะนะ พราหมณิงปะชัง สะเทวมนุสสัง สะยังอภิญญา สัจจิกัตวาปะเวเทสิ…ก็ในเมื่อแม้สงฆ์สาวกที่เกิดขึ้นตามหลังถึงเกือบสามพันปี เช่นพระอาจารย์หลวงพ่อบุญเพ็ง กปปโก ก็ยังเจริญรอยตามพระองค์ท่านได้ไม่ผิดเพี้ยนเช่นนี้

การเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อ สำหรับหลาย ๆ คนจึงเป็นการเปลี่ยนชีวิตใหม่อย่างสิ้นเชิง ด้วยความยินยอมพร้อมใจ และโดยอัตโนมัติ ดังนั้นการได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อ นอกจากจะทำให้พวกเราเข้าใจธรรมะคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาที่ตรงแท้แน่นอนแล้ว ยังทำให้เราสิ้นสงสัยในคำสรรเสริญองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “โย อิมัง โลกัง สะเทวกัง สะมาระกัง สะพรัมมะกัง สัสสะมะนะ พราหมณิงปะชัง สะเทวมนุสสัง สะยังอภิญญา สัจจิกัตวาปะเวเทสิ ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดา มารพรหม และหมู่สัตว์ พร้อมสมณพราหมณ์ ให้รู้ตาม” ก็จะสงสัยได้อย่างไรเล่า ในเมื่อแม้สงฆ์สาวกที่เกิดขึ้นตามหลังถึงเกือบสามพันปี เช่นพระอาจารย์หลวงพ่อบุญเพ็ง กปปโก ก็ยังเจริญรอยตามพระองค์ท่านได้ไม่ผิดเพี้ยนเช่นนี้

ข้อมูลจาก ชมรมพระพุทธศาสนา บริษัท เอไอเอ จำกัด

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น