ความรู้เกี่ยวกับพระสงฆ์

สังฆกรรม

สังฆกรรม คือ งานของสงฆ์ กรรมที่คณะสงฆ์พึงทำ กิจที่คณะสงฆ์จะพึงกระทำร่วมกัน จะกระทำเพียงรูปเดียว หรือสองรูป สามรูป ไม่ได้เพราะถือว่าเป็นกิจของคณะสงฆ์ทั้งหมด ซึ่งจะใช้สงฆ์จำนวนกี่รูปนั้นก็สดแท้แต่ กรรมที่สงฆ์พึงกระทำ เช่น การบวชพระ ต้องใช้สงฆ์ ๕ รูป ๑๐ รูป หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับพระวินัยบัญญัติไว้ ซึ่งสังฆกรรมทั้งหมด มี ๔ ประเภท คือ

  1. อปโลกน์นกรรม กรรมที่ทำเพียงด้วยบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติ (คำเผดียงสงฆ์, ประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน, วาจานัดและไม่ต้องสวดอนุสาวนา(คำสวดประกาศความปรึกษา และตกลงของสงฆ์, คำขอมติ) เช่น แจ้งการลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ
  2. ญัตติกรรม กรรมที่ทำเพียงตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น การสวดปาติโมกข์ และไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น การสวดปาติโมกข์ และการปวารณาออกพรรษา
  3. ญัตติทุติยกรรม กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนหนึ่ง เช่น การสวดให้ผ้ากฐิน (ถวายผ้ากฐิน) การสวดในการสมมติสีมา (การสวดในเวลาที่มีการตัดลูกนิมิต เมื่อสร้างโบสถ์เสร็จใหม่ ๆ)
  4. ญัตติจตุตถกรรม กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนสาวนา ๓ หน เช่น การสวดนาคในการบวช (อุปสมบท) เป็นพระ การประพฤติวุฏฐานวิธี(ปริวาสกรรม) การให้มานัต

อปโลกนกรรม

แบ่งออกเป็น ๕ คือ

  1. นิสสารณา คือ การขับไล่สามเณรผู้กล่าวตู่พุทธพจน์
  2. โอสารณา คือ การรับเอาสามเณรผู้เช่นนั้น ผู้ประพฤติดีแล้วเข้าหมู่
  3. ภัณฑูกรรม คือ การขออนุญาตปลงผมแก่ผู้เตรียมตัวจะบวช
  4. กัมมลักขณะ ประกาศนัดแจกอาหารในโรงฉัน

ญัตติกรรม

แบ่งออกเป็น ๙ คือ

  1. โอสารณา เรียกอุปสัมปทาเปขะผู้ถูกถามอันตรายิกธรรมแล้วเข้าหมู่
  2. นิสสารณา ประกาศถอนพระธรรมกถึกออกเสียจากการระงับอธิกรณ์
  3. อุโบสถ แสดงพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน
  4. ปวารณา เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เช่นการปวารณาออกพรรษา
  5. สมมติต่างเรื่อง สมมติตนหรือผู้อื่นเป็นผู้ถามอันตรายิกธรรม
  6. การให้ ให้คืนจีวรและบาตรเป็นต้นที่เป็นนิสสัคคีย์
  7. ปฏิคคหะ รับอาบัติอันภิกษุแสดงในสงฆ์
  8. ปัจจุกัฑฒนะ ประกาศเลื่อนปวารณาออกไป
  9. กัมมลักขณะ ประกาศเริ่มต้นระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย

ญัตติทุติยกรรม

แบ่งออกเป็น ๗ คือ

  1. นิสสารณา คือ คว่ำบาตร ประมาณคฤหัสถ์ผู้ให้ร้ายศาสนา
  2. โอสารณา คือหงายบาตร ถอนประมาณ ผู้เช่นนั้นอันประพฤติดีแล้ว
  3. สมมติต่างเรื่อง เช่น สมมติสีมา เป็นต้น
  4. ให้ต่างอย่าง เช่น ให้ผ้ากฐิน เป็นต้น
  5. ประกาศถอน หรือเลิกอานิสงส์กฐิน เป็นต้น
  6. แสดงที่สร้างกุฏิให้แก่ภิกษุ
  7. กัมมลักขณะ ได้แก่การสวดลำดับไปในการระงับอธิกรณ์ ด้วยติณวัตรถารกวินัย

ญัตติจตุตถกรรม

แบ่งออกเป็น ๗ คือ

  1. นิสสารณา ได้แก่สงฆ์ทำกรรม ๗ อย่าง มีตัชชะนียกรรม เป็นต้น แก่ภิกษุ
  2. โอสารณา ได้แก่สงฆ์ยกโทษแก่ภิกษุผู้กลับประพฤติดีแล้ว
  3. สมมติ สมมติภิกษุให้สอนนางภิกษุณี
  4. การให้ คือให้ปริวาสและมานัต
  5. นิคหะ คือ ปรับภิกษุผู้อยู่ปริวาสและมานัต ซึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสซ้ำอีก
  6. สมนุภาสนา คือ สวดห้ามภิกษุไม่ให้ดื้อรั้น ในการกระทำอันมิชอบ
  7. กัมมลักขณะ ได้แก่ การอุปสมบท และอัพภาน แก่อัพภานารหภิกษุ
สังฆกรรม - ภาพจาก Pixabay
สังฆกรรม – ภาพจาก Pixabay

กรรมวิบัติ

มี ๔ ประการ คือ

  1. วิบัติโดยวัตถุ  เช่น อุปสมบท หรือบวชคนที่อายุยังไม่ครบเป็นต้น
  2. วิบัติโดยสีมา เช่น สีมาคาบเกี่ยว
  3. วิบัติโดยปริสะ เช่น ประชุมสงฆ์ไม่ครบองค์
  4. วิบัติโดยกรรมวาจา เช่น สวดบกพร่องมีการไม่ตั้งญัตติ หรืออนุสาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง

อักขรวิธี

ประเภทแห่งพยัญชนะมี ๑๐

ภิกษุผู้สวดกรรมวาจา จะต้องสนใจในอักขรวิธีหรือประเภทแห่งพยัญชนะ ๑๐ ประการ

  1. สิถิล ได้แก่ พยัญชนะที่ออกเสียเพลา คือ พยัญชนะตัวที่ ๑ และตัวที่ ๓ ในวรรคทั้ง ๕
  2. ธนิต พยัญชนะที่ออกเสียงแข็งได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และตัวที่ ๔ ในวรรคทั้ง ๕
  3. ทีฆะ ได้แก่สระที่ออกเสียงยาว เช่น อา อี เอ โอ
  4. รัสสะ ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น เช่น อ อิ อุ
  5. ครุ ได้แก่สระที่มีพยัญชนะสังโยค คือ มีพยัญชนะสะกด เช่น พุทฺธรกฺขิตตสฺส นกขมติ
  6. ลหุ ได้แก่ สระที่ไม่มีพยัญชนะสังโยค คือ ไม่มีพยัญชนะสะกด เช่น พุทฺธรกฺขิตตสฺส น ขมติ
  7. นิคหิต ได้แก่ อักขระที่ว่ากดเสียง เช่น สฺงฆํอุปสมฺปทํ
  8. วิมุต ได้แก่อักขระที่ว่าปล่อยเสียง เช่น สุณาตุเอสา ญตติ
  9. สัมพันธ์ ได้แก่บทที่เข้าสนธิเชื่อมกับบทอื่น เชน ตุณฺหสฺส
  10. ววัตถิตะ ได้แก่บทที่แยกออกจากกัน เช่น ตุณฺหี อสฺส

กรรมเสียเพราะว่าผิดพลาด ๔ สถาน คือ

  1. ว่าสิถิลเป็นธนิต เช่นว่า สุณาตุ เม เป็น สุณากุ เม
  2. ว่าธนิตเป็นสิถิล เช่น ว่า ภนฺเต สงฺโฆ เป็น พนฺเต สงฺโค
  3. ว่าวิมุตเป็นนิคหิต เช่นว่า สุณาตุ เม เป็น สุณนฺตุ เม
  4. ว่านิคหิตเป็นวิมุต เช่นว่า ปตฺตกลฺลํ เป็น ปตฺตกลฺลา ว่าผิดพลาดอีก ๖ สถาน

กรรมวาจาไม่เสีย แต่ควรในใจ ว่าให้ถูกต้อง

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น