ปรินิพพาน

หลักอปริหานิยธรรม หรือ ลิจฉวีอปริหานิยธรรม

ขอบคุณภาพประกอบจาก pixabay

หลักอปริหานิยธรรม คือ ข้อปฏิบัติหรือธรรมอันเป็นเหตุไม่ให้เกิดความเสื่อมมี ๗ ข้อ เป็นหลักธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสั่งสอนทั้งฝ่ายคฤหัสถ์ โดยตรัสสั่งสอนเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี และตรัสสั่งสอนเหล่าภิกษุที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ

หลักอปริหานิยธรรมสำหรับฝ่ายคฤหัสถ์ มีดังนี้

  1. หมั่นประชุมกันเนือง ๆ
  2. ประชุมหรือเลิกประชุม และทำกิจของส่วนรวมอย่างพร้อมเพรียงกัน
  3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติ ไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้วยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้
  4. เคารพนับถือเชื่อฟังและให้เกียรติแก่ผู้เป็นประธาน ผู้บริหารหมู่คณะ และปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้
  5. ให้เกียรติ ให้ความปลอดภัยแก่สตรีเพศ ไม่ข่มเหงฉุดคร่า
  6. เคารพนับถือบูชาพระเจดีย์ทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกเมือง และไม่บั่นทอนผลประโยชน์ที่เคยอุปถัมภ์บำรุงพระเจดีย์เหล่านั้น
  7. จัดการอารักขาโดยธรรมแก่พระอริยะ ด้วยตั้งความปรารถนาว่า พระอริยะเหล่านี้ที่ยังไม่มาสู่บ้านนี้เมืองนี้ขอให้มา ส่วนที่มาแล้วขอให้ท่านอยู่ผาสุก

หลักอปริหานิยธรรมสำหรับฝ่ายศาสนจักร หรือฝ่ายภิกษุสงฆ์

ที่ตรัสสั่งสอนเหล่าภิกษุสงฆ์ใน ๔ ข้อแรกนั้นเหมือนกับที่ตรัสแก่เจ้าลิจฉวี มีแตกต่างกัน ๓ ข้อสุดท้าย ซึ่งอปริหานิยธรรมสำหรับพระภิกษุนั้นมี ๒ นัย

อปริหานิยธรรม ๗ สำหรับพระภิกษุ นัยที่ ๑

  1. หมั่นประชุมกันเนือง ๆ
  2. ประชุมหรือเลิกประชุม และทำกิจของส่วนรวมอย่างพร้อมเพรียงกัน
  3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติ ไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้วยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้
  4. เคารพนับถือเชื่อฟังและให้เกียรติแก่ผู้เป็นประธาน ผู้บริหารหมู่คณะ และปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้
  5. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น คือไม่ลุแก่ตัณหาอันจะก่อให้เกิดภพใหม่
  6. ยินดีในความสงบ สันโดษ หมายถึงการยินดีในการอยู่ป่า
  7. ตั้งใจอยู่เสมอว่า พระภิกษุสามเณรผู้มีศีลที่ยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่ผาสุก

อปริหานิยธรรม ๗ สำหรับพระภิกษุ นัยที่ ๒

  1. ไม่เป็นผู้ชอบการงาน ไม่ยินดีแล้วในการงาน
  2. ไม่เป็นผู้ชอบการคุย ไม่ยินดีแล้วในการคุย
  3. ไม่เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ไม่ยินดีแล้วในการนอนหลับ
  4. ไม่เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่ยินดีแล้วในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
  5. ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแก่ความปรารถนาลามก
  6. เป็นผู้ไม่มีมิตรชั่ว สหายชั่ว หรือคบคนชั่ว
  7. ไม่ถึงความนอนใจในระหว่าง เพราะการบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำ

อปริหานิยธรรม ๗ สำหรับพระภิกษุ นัยที่ ๓

  1. เป็นผู้มีศรัทธา
  2. เป็นผู้มีใจประกอบด้วยหิริ
  3. เป็นผู้มีโอตัปปะ
  4. เป็นพหูสูต
  5. เป็นผู้ปรารถนาความเพียร
  6. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น
  7. เป็นผู้มีปัญญา

อปริหานิยธรรม ๗ สำหรับพระภิกษุ นัยที่ ๔

  1. เจริญสติสัมโพชฌงค์
  2. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
  3. เจริญวิริยสัมโพชฌงค์
  4. เจริญปิติสัมโพชฌงค์
  5. เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
  6. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
  7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

อปริหานิยธรรม ๗ สำหรับพระภิกษุ นัยที่ ๕

  1. เจริญอนิจจสัญญา
  2. เจริญอนัตตสัญญา
  3. เจริญอสุภสัญญา
  4. เจริญอาทีนวสัญญา
  5. เจริญปหานสัญญา
  6. เจริญวิราคสัญญา
  7. เจริญนิโรธสัญญา

อปริหานิยธรรม ๖ สำหรับพระภิกษุ นัยที่ ๕

  1. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
  2. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
  3. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
  4. แบ่งปันลาภอันเป็นธรรมที่ได้มาโดยธรรม แก่เพื่อนพรหมจรรย์
  5. มีศีลเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ
  6. มีทิฐิเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ

ข้อมูลเพิ่มเติมจากวาระสุดท้ายของพระพุทธเจ้า, สำนักพิมพ์มติชน ท่านอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น