หมวดที่ ๓ พุทธสาวก และพุทธบริษัท

พระเถรีสำคัญในสมัยพุทธกาล

พระภิกษุณีสงฆ์ผู้เป็นกำลังสำคัญในการเผลแผ่พระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาล นับจากภิกษุณีสงฆ์องค์แรกคือ พระนางมหาปชาบดีโคตม และ พระอัครสาวิกา ทั้งสอง คือ พระเขมาและพระอุบลวรรณ มีดังนี้

มหาปชาบดีโคตมี

เป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า เดิมเรียกว่าพระนางปชาบดี เป็นธิดาของพระเจ้าอัญชนะแห่งโกลิยวงศ์ และเป็นพระภคินีของพระนางสิริมหามายา เมื่อพระนางสิริมหายาพระมารดาของพระพุทธเจ้าสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุทโธนะราชกษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ได้มอบสิทธัตถกุมารให้พระนางเลี้ยงดู ต่อมาเมื่อพระเจ้าสุทโธทนะสวรรคตแล้ว พระนางได้ออกบวชเป็นภิกษุณีองค์แรก ในพรรษาที่ ๕ ก่อนพุทธศักราช ๔๐ ปี พระมหาเถรีมหาปชาบดีโคตมีได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญู (บวชนารู้เหตุก่อนใคร ๆ)

พระเขมา

พระเถรีมหาสาวิกาเขมา ประสูติในราชตระกูลแห่งสาคลนครในมัททรัฐ ต่อมาให้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าแผ่นดินมคธครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครราชคฤห์ มีความมัวเมาในรูปสมบัติของตรได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พอจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต แล้วบวชเป็นภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา

อุบลวรรณา

พระเถรีมหาสาวิกาอุบลวรรณา เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ได้ชื่อว่าอุบลวรรณาเพราะมีผิวพรรณดังดอกนิลุบล (อุบลเขียว) เป็นสตรีผู้มีรูปโฉมงดงามอย่างยิ่ง จึงเป็นที่ปรารถนาของพระราชาในชมพูทวีปหลายพระองค์ ต่างส่งคนมาติดต่อทาบทามกับ ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดา ก่อให้เกิดความลำบากใจมาก จึงคิดจะให้ธิดาบวชพอเป็นอุบาย แต่นางเองพอใจในบรรพชาอยู่แล้ว จึงบวชเป็นภิกษุณี ด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง คราวหนึ่งอยู่เวรจุดประทีปในพระอุโบสถ นางเพ่งดูเปลวประทีปถือเอาเป็นนิมิตเจริญญานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ได้บรรลุพระอรหัต พระมหาสาวิกาอุบลวรรณา ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคะ ในทางแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย

กีสาโคตมี

พระเถรีสำคัญองค์หนึ่งเดิมเป็นธิดาคนยากจนในพระนครสาวัตถี แต่ได้เป็นลูกสะใภ้ของเศรษฐีในพระนครนั้น นางมีบุตรชายคนหนึ่ง อยู่มาไม่นานบุตรชายตายนางมีความเสียใจมาก อุ้มบุตรที่ตายแล้วไปในที่ต่าง ๆ เพื่อหายาแก้ให้ฟื้น จนได้พบพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนด้วยอุบายและทรงประทานโอวาท นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผลบวชในสำนักนางภิกษุณี วันหนึ่งนั่งพิจารณาเปลวประทีปที่ตามอยู่ในพระอุโบสถ ได้บรรลุพระอรหัต พระเถรีกีสาโคตมีได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางจีวรเศร้าหมอง

ธัมมพินนา

พระเถรีมหาสาวิกาธัมมทินนาเป็นกุลธิดาชาวพระนครราชกฤห์ เป็นภรรยาของวิสาขเศรษฐี มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง บวชในสำนักนางภิกษุณียำเพ็ญเพียรไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัตพระเถรีธัมมทินาได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นธรรมกถึก

ปฏาจารา

พระมหาสาวิกาปฏาจาราเป็นกุลธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ได้รับวิปโยคทุกข์อย่างหนักเพราะสามีและลูกตาย พ่อแม่พี่น้องตายหมด ในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นฉับพลันทันทีและติดต่อกัน ถึงกับเสียสติปล่อยผ้านุ่งผ้าห่มหลุดลุ่ยเดินบ่นเพ้อไปในที่ต่าง ๆ จนถึงพระเชตวันมหวิหาร พระศาสดาทรงแผ่เมตตา เพปล่งพระวาจาให้นางกลับได้สติ แล้วแสดงพระธรรมเทศนา นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชเป็นพระภิกษุณี ไม่ช้าได้สำเร็จพระอรหัต พระเถรีมหาสาวิกาปฏาจาราได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทรงพระวินัย

ภัททกาปิลานี

พระมหาสาวิกาภัททกาปิลานี เป็นธิดาพราหมณ์โกสิยดคตรในสาคลนครแห่งมัททรัฐเมื่ออายุ ๑๖ ปีได้สมรสกับปิปผลิมาณพตามความประสงค์ของมารดาบิดา แต่ไม่มีความยินดีในชีวิตครอบเรือน ต่อมาทั้งสามีภรรยาได้สละเรือน นุ่งห่มผ้ากาสวะออกบวชกันเองเดินออกจากบ้านแล้วแยกกันที่ทางสองแพร่ง ปิปผลิมาณพเดินทางต่อไปจนพบพระพุทธเจ้าที่พหุปุตตกนิโครธ ได้อุปสมบท ครั้นล่วงไป ๗ วันก็ได้บรรลุพระอรหัต เป็นพระมหาสาวกนาม พระมหากัสสปะ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางถือธุดงค์

ส่วนนายภัททกาปิลานีออกบวชเป็นปริพาชิกา (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา)ต่อมาเมื่อพระมหาปชาบดีผนวชเป็นภิกษุณีแล้ว นางภัททกาปิลานีได้มาบวชอยู่ในสำนักของพระมหาปชาบดี เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยความไม่ประมาท ได้บรรลุพระหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปุพเพนิวาสานุสสติ

ภัททา กัจจนา

พระมหาสาวิกาภัททา กัจจานา เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งโกลิยวงศ์ พระนามเดิมว่า “ยโสธรา” หรือ “พิมพา” อภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะเมือพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา เป็นพระมารดาของพระราหุลพุทธชิโนรส ได้นามว่า ภัททา กัจจานาเพราะทรงมีฉวีวรรณดุจทองคำเนื้อเกลี้ยง บวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเจริญวิปัสนากัมมัฏฐานไม่ช้าก็สำเร็จเป็นอรหัจ พระมหาสาวิกาภัททา กัจจานา ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางบรรลุมหาภิญญา พระนางทรงเป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า

ภัททา กุณฑลเกสา

พระมหาสาวิกาภัททา กุณฑลเกสาเป็นธิดาของเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ เคยเป็นภรรยาโจรผู้เป็นนักโทษประหารชีวิต โจรคิดจะฆ่านางเพื่อเอาทรัพย์สมบัติ แต่นางใช้ปัญญาคิดแก้ไขกำจัดโจรได้ แล้วบวชในสำนักนิครนถ์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนาที่เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตร , นักบวชในศาสนาเชน) ต่อมาได้พบกับพระสารีบุตรพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ได้ถามปัญหากันและกัน จนนางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่อมาได้ฟังธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงได้สำเร็จพระอรหัต แล้วบวชในสำนักนางภิกษุณี พระมหาสาวิกาภัททา กุณฑลเกสาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้มาจากตระกูลสูง

สิคาลมาตา

พระมหาสาวิกาสิคาลมาตาเป็นธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ เจริญวัยแล้วแต่งงานมีบุตรคนหนึ่งชื่อ สิงคาลกุมารวันหนึ่งได้ฟังธรรมีกถาของพระศาสดา มีความเลื่อมใสศรัทธา ขอบวชเป็นภิกษุณี ต่อ มาได้ไปฟังธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงนางคอยตั้งตาดูพระพุทธเจ้า

สิริสมบัติด้วยศรัทธาอันแรงกล้า พระพุทธองค์ทรงทราบดังนั้นก็ทรงแสดงธรรมให้เหมาะกับอัธยาศัยของนาง นางส่งในไปตามกระแสพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต พระมหาสาวิกาสิคาลมาตาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาธิมุต

โสณา

พระมหาสาวิกาโสณาเป็นธิดาของผู้มีตระกูลในพระนครสาวัตถี นางแต่งงานมีสามีและมีบุตร ๑๔ คน เป็นชาย ๗ คน และ หญิง ๗ คน ภายหลังสามีถึงแก่กรรม ลูกชายหญิงก็แต่งงานมีเรือนกันไปหมด จึงออกบวชเป็นภิกษุณี มีความเพียรอย่างแรงกล้า เจริญวิปัสสานาอยู่เรือนไฟได้ฟังพระธรรมเทศนา ของพระศาสดาได้บรรลุพระอรหัตพระมหาสาวิกาโสณาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปรารภความเพียร

อโนชา

พระมหาสาวิกาอโนชาเป็นพระอัครมเหสีของกษัตริยืผู้ครองราชสมบัติในนครกุกกุฏวดีในปัจจันตประเทศ ได้ทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าแล้วบังเกิดปีติศรัทธา สละราชสมบัติทรงม้าเดินทางไกลถึง ๓๐๐ โยชน์ (๔,๘๐๐ กิโลเมตร) มาเฝ้าพระพุทธเจ้าสดับธรรมกถา บรรลุพระอรหัตแล้วได้อุปสมบท เป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่งมีพระนามว่าพระมหากัปปินะ ส่วนพระนางอโนชา เมื่อทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าก็เกิดปีติและศรัทธาเช่นเดียวกัน พระนางทรงรถเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้าฟังธรรมบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว รับพรรพชาจากพระอุบลวรรณาเถรีไปอยู่ในสำนักภิกษุณี

ที่มา: หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น