หมวดที่ ๒ พระพุทธเจ้า พระนาม และพระพุทธประวัติ

ความฝัน ๕ เรื่องของพระบรมโพธิสัตว์

เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงเลิกละทุกรกิริยาแล้ว ก็ทรงเริ่มทำความเพียรทางจิตต่อไป จนถึงราตรีขึ้น ๑๔ ค้ำ เดือน ๖ ปีระกา คืนก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสุบินเรียกว่า “ปัญจมหาสุบิน” คือความฝัน ๕ เรื่องของพระบรมโพธิสัตว์มีความว่า

  1. พระองค์ทรงบรรทมหงายเหนือพื้นปฐพี พระเศียรหนุนเขาหิมพานต์เป็นพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายหยั่งลงในมหาสุมทรทิศใต้ (ผทม = นอน พระเขนย + หมอนหนุน)
  2. หญ้าแพรกเส้นหนึ่งงอกจากพระนาภีสูงขึ้นไปจนถึงท้องฟ้า (พระนาภี = สะดือ)
  3. หมู่หนอนทั้งหลาย สีขาวบ้าง ดำบ้างเป็นอันมากไต่ขึ้นมาแต่พื้นพระบาททั้งคู่ ปกปิดลำพระชงฆ์หมด และไต่ขึ้นมาถึงพระชานุมลฑล (พระชงฆ์ = แข้ง พระชานุ = เข่า)
  4. ฝูงนก ๔ จำพวก มีสีต่าง ๆ กันคือ สีเหลือง เขียง แดง ดำบินมาแต่ทิศทั้ง ๔ ลงมาจับแท่นพระบาทแล้วกลับกลายเป็นสีขาวไปสิ้น
  5. เสด็จขึ้นไปเดินจงกรมบนยอดภูเขาอันเต็มไปด้วยอาจมแต่อาจมนั้นมิได้เปื้อนพระยุคลบาท

พระมหาสุบินทั้ง ๕ เรื่องนั้น มีอธิบายคำทำนายว่า

  1. พระบรมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศในโลกทั้ง ๓
  2. พระบรมโพธิสัตว์จะได้ทรงประกาศสัจธรรม เผยมรรคผล นิพพาน แก่ เทพยดาและมนุษย์ทั้งมวล
  3. คฤหัสถ์ พราหมณ์ทั้งหลาย จะเข้ามาสู่สำนักของพระองค์เป็นอันมาก
  4. ชาวโลกทั้งหลาย คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เมื่อมาสู่สำนักของพระองค์แล้ว จะรู้ทั่วถึงธรรมอันบริสุทธิ์หมดจดผ่องใสไปสิ้น
  5. ถึงแม้พระองค์จะพร้อมมูลด้วยสักการะวรามิศ ที่ชาวโลกอุทิศน้อมถวายด้วยความเลื่อนใส ก็มิได้มีพระทัยข้องอยู่ให้เป็นมลทินแม้แต่น้อย

ครั้นพระบรมโพธิสัตว์ตื่นผทมแล้ว ก็ทรงดำริถึงข้อความในพระมหาสุบินทั้ง ๕ เรื่อง แล้วทำนายด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์เองว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแน่แท้ ครั้นได้ทรงทำสรีรกิจสระสรงพระกายหมดจดแล้วก็เสด็จมาประทับนั่ง ณ ที่ควงไม้นิโครธพฤกษ์ในยามเช้าแห่งวันเพ็ญวิสาขปุรณมีดิถี กลางเดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธสักราช ๔๕ ปี

ที่มา: หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น