อติเรกทสกะ - หมวดเกิน ๑๐

[๓๓๘] กรรม ๑๒

[๓๓๘] กรรม ๑๒ (การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม, ในที่นี้หมายถึงกรรมประเภทต่างๆ พร้อมทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผลของกรรมเหล่านั้น — Kamma: karma; kamma; action; volitional action)

หมวดที่ ๑ ว่าโดยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล (classification according to the time of ripening or taking effect)

  1. ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในปัจจุบันคือในภพนี้ — Diṭṭhadhamma-vedanīyakamma: kamma to be experienced here and now; immediately effective kamma)
  2. ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิดคือในภพหน้า — Upapajja-vedanīyakamma: kamma to be experienced on rebirth; kamma ripening in the next life)
  3. ๓. อปราปริยเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพต่อๆ ไป — Aparāpariya-vedanīya-kamma: kamma to be experienced in some subsequent lives; indefinitely effective kamma)
  4. ๔. อโหสิกรรม (กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก — Ahosi-kamma: lapsed or defunct kamma)

หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือ จำแนกการให้ผลตามหน้าที่ (classification according to function)

  1. ๕. ชนกกรรม (กรรมแต่งให้เกิด, กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด — Janaka-kamma: productive kamma; reproductive kamma)
  2. ๖. อุปัตถัมภกกรรม (กรรมสนับสนุน, กรรมที่เข้าช่วยสนับสนุนหรือซํ้าเติมต่อจากชนกกรรม — Upatthambhaka-kamma: supportive kamma; consolidating kamma)
  3. ๗. อุปปีฬกกรรม (กรรมบีบคั้น, กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน — Upapīḷaka-kamma: obstructive kamma; frustrating kamma)
  4. ๘. อุปฆาตกกรรม (กรรมตัดรอน, กรรมที่แรง ฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมเข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว เช่น เกิดในตระกูลสูง มั่งคั่ง แต่อายุสั้น เป็นต้น — Upaghātaka-kamma: destructive kamma; supplanting kamma)

หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือ จำแนกตามความยักเยื้องหรือลำดับความแรงในการให้ผล (classification according to the order of ripening)

  1. ๙. ครุกกรรม (กรรมหนัก ให้ผลก่อน ได้แก่ สมาบัติ ๘ หรือ อนันตริยกรรม — Garuka-kamma: weighty kamma)
  2. ๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม (กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองจากครุกกรรม — Bahula-kamma or Āciṇṇa-kamma: habitual kamma)
  3. ๑๑. อาสันนกรรม (กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย คือกรรมทำเมื่อจวนจะตายจับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น — Āsanna-kamma: death-threshold kamma; proximate kamma)
  4. ๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม (กรรมสักว่าทำ, กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผลแล้วกรรมนี้จึงจะให้ผล — Katattākamma or Katattāvāpana-kamma: reserve kamma; casual act) กฏัตตากรรม ก็เขียน

กรรม ๑๒ หรือ กรรมสี่ ๓ หมวดนี้ มิได้มีมาในบาลีในรูปเช่นนี้โดยตรง พระอาจารย์สมัยต่อมา เช่น พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นต้น ได้รวบรวมมาจัดเรียงเป็นแบบไว้ในภายหลัง.

Vism.601; Comp.144.

วิสุทฺธิ.๓/๒๒๓; สงฺคห.๒๘.

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น