จตุกกะ - หมวด ๔

[๒๐๓] อริยวงศ์ ๔

[๒๐๓] อริยวงศ์ ๔ (ปฏิปทาที่พระอริยะทั้งหลายปฏิบัติสืบกันมาแต่โบราณไม่ขาดสาย, อริยประเพณี — Ariyavaṁsa: Ariyan lineage; noble tradition; the fourfold traditional practice of the Noble Ones)

  1. จีวรสันโดษ (ความสันโดษด้วยจีวร — Cīvara-santosa: contentment as regards robes or clothing)
  2. ปิณฑปาตสันโดษ (ความสันโดษด้วยบิณฑบาต — Piṇḍapāta-santosa: contentment as regards alms-food)
  3. เสนาสนสันโดษ (ความสันโดษด้วยเสนาสนะ — Senāsana-santosa: contentment as regards lodging)
  4. ปหานภาวนารามตา (ความยินดีในการละอกุศลและเจริญกุศล — Pahānabhāvanā-rāmatā: delight in the abandonment of evil and the development of good)

การปฏิบัติที่จัดเป็นอริยวงศ์ในธรรมทั้ง ๔ ข้อนั้น พระภิกษุพึงประพฤติดังนี้

  1. ก. สันโดษด้วยปัจจัยใน ๓ ข้อต้นตามมีตามได้
  2. ข. มีปกติกล่าวสรรเสริญคุณของความสันโดษใน ๓ ข้อนั้น
  3. ค. ไม่ประกอบอเนสนา คือการแสวงหาที่ผิด (ทุจริต) เพราะปัจจัยทั้ง ๓ อย่างนั้นเป็นเหตุ (เพียรแสวงหาแต่โดยทางชอบธรรม ไม่เกียจคร้าน)
  4. ง. เมื่อไม่ได้ ก็ไม่เร่าร้อนทุรนทุราย
  5. จ. เมื่อได้ ก็ใช้โดยไม่ติด ไม่หมกมุ่น ไม่สยบ รู้เท่าทันเห็นโทษ มีปัญญาใช้สิ่งนั้นตามประโยชน์ ตามความหมายของมัน (มีและใช้ด้วยสติสัมปชัญญะ ดำรงตนเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของสิ่งนั้น)
  6. ฉ. ไม่ถือเอาการที่ได้ประพฤติธรรม ๔ ข้อนี้ เป็นเหตุยกตนข่มผู้อื่น

โดยสรุปว่า เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน มีสติสัมปชัญญะในข้อนั้นๆ เฉพาะข้อ ๔ ทรงสอนไม่ให้สันโดษ ส่วน ๓ ข้อแรกทรงสอนให้ทำความเพียรแสวงหาในขอบเขตที่ชอบด้วยธรรมวินัยและมีความสันโดษตามนัยที่แสดงข้างต้น

อนึ่ง ในจูฬนิทเทส ท่านแสดงอริยวงศ์ของพระปัจเจกพุทธเจ้าต่างไปเล็กน้อย คือ เปลี่ยนข้อ ๔ เป็น สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร (medical equipment)

D.III.224; A.II.27; Nd2107.

ที.ปา.๑๑/๒๓๗/๒๓๖; องฺ.จตุกฺก.๒๑/๒๘/๓๕; ขุ.จู.๓๐/๖๙๑/๓๔๖.

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น