จตุกกะ - หมวด ๔

[๒๐๑] วัฒนมุข ๖

[๒๐๑] วัฒนมุข ๖ (ธรรมที่เป็นปากทางแห่งความเจริญ, ธรรมที่เป็นดุจประตูชัยอันจะเปิดออกไปให้ก้าวหน้าสู่ความเจริญงอกงามของชีวิต — Vaḍḍhana-mukha: channels of growth; gateway to progress)

  1. อาโรคยะ (ความไม่มีโรค, ความมีสุขภาพดี — Ārogya: good health)
  2. ศีล (ความประพฤติดี มีวินัย ไม่ก่อเวรภัย ได้ฝึกในมรรยาทอันงาม — Sīla: moral conduct and discipline)
  3. พุทธานุมัต (ศึกษาแนวทาง มองดูแบบอย่าง เข้าถึงความคิดของพุทธชนเหล่าคนผู้เป็นบัณฑิต — Buddhānumata: conformity or access to the ways of great, enlightened beings)
  4. สุตะ (ใฝ่เล่าเรียนหาความรู้ ฝึกตนให้เชี่ยวชาญและทันต่อเหตุการณ์ — Suta: much learning)
  5. ธรรมานุวัติ (ดำ เนินชีวิตและกิจการงานโดยทางชอบธรรม — Dhammānuvatti: practice in accord with the Dhamma; following the law of righteousness)
  6. อลีนตา (เพียรพยายามไม่ระย่อ, มีกำ ลังใจแข็งกล้า ไม่ท้อถอยเฉื่อยชา เพียรก้าวหน้าเรื่อยไป — Alīnatā: unshrinking perseverance)

ธรรม ๖ ประการชุดนี้ ในบาลีเดิมเรียกว่า อัตถทวาร (ประตูแห่งประโยชน์, ประตูสู่จุดหมาย) หรือ อัตถประมุข (ปากทางสู่ประโยชน์, ต้นทางสู่จุดหมาย) และอรรถกถาอธิบายคำ อัตถะ ว่า หมายถึง “วุฒิ” คือความเจริญ ซึ่งได้แก่ วัฒนะ ดังนั้นจึงอาจเรียกว่า วุฒิมุข หรือที่คนไทยรู้สึกคุ้นมากกว่าว่า วัฒนมุข

อนึ่ง ในฝ่ายอกุศล มีหมวดธรรมรูจั้กกันดีที่เรียกว่า อบายมุข ๖ ซึ่งแปลว่าปากทางแห่งความเสื่อม จึงอาจเรียกธรรมหมวดนี้ด้วยคำ ที่เป็นคู่ตรงข้ามว่า อายมุข ๖ (ปากทางแห่งความเจริญ)

J.I.366

ขุ.ชา.๒๗/๘๔/๒๗

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น