จตุกกะ - หมวด ๔

[๑๖๘] มิตรปฏิรูปก์ หรือ มิตรเทียม ๔

[๑๖๘] มิตรปฏิรูปก์ หรือ มิตรเทียม ๔ (คนเทียมมิตร, คนที่พึงทราบว่าเป็นศัตรู ผู้มาในร่างของมิตร — Mittapaṭirūpaka: false friends; foes in the guise of friends)

  1. ๑. คนปอกลอก คนขนเอาของเพื่อนไปถ่ายเดียว (อัญญทัตถุหรAññadatthuhara: the out-and-out robber) มีลักษณะ ๔ คือ
    1. ๑) คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
    2. ๒) ยอมเสียน้อย โดยหวังจะเอาให้มาก
    3. ๓) ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
    4. ๔) คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์
    5. a) He appropriates his friend’s possessions.
    6. b) Giving little, he expects a lot in return.
    7. c) He gives a helping hand only when he himself is in danger.
    8. d) He makes friends with others only for his own interests.
  2. ๒. คนดีแต่พูด (วจีบรมVacīparama: the man who pays lip-service) มีลักษณะ ๔ คือ
    1. ๑) ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย
    2. ๒) ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย
    3. ๓) สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
    4. ๔) เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง
    5. a) He speaks you fair about the past.
    6. b) He speaks you fair about the future.
    7. c) He tries to gain your favour by empty sayings.
    8. d) When help is needed he points to his own ill luck.
  3. ๓. คนหัวประจบ (อนุปปิยภาณีAnuppiyabhāṇī: the flatterer) มีลักษณะ ๔ คือ
    1. ๑) จะทำชั่วก็เออออ
    2. ๒) จะทำดีก็เออออ
    3. ๓) ต่อหน้าสรรเสริญ
    4. ๔) ลับหลังนินทา
    5. a) He consents to your doing wrong.
    6. b) He consents to your doing right.
    7. c) He sings your praises to your face.
    8. d) He runs you down behind your back.
  4. ๔. คนชวนฉิบหาย (อปายสหายApāyasahāya: the leader to destruction) มี ลักษณะ ๔ คือ
    1. 1) คอยเป็นเพื่อนดื่มนํ้าเมา
    2. 2) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
    3. 3) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
    4. 4) คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน
    5. a) He is your companion when you indulge in drinking.
    6. b) He is your companion when you roam the streets at unseemly hours.
    7. c) He is your companion when you frequent shows and fairs.
    8. d) He is your companion when you indulge in gambling.

D.III.185.

ที.ปา.๑๑/๑๙๖/๑๙๙.

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น