ศาสนพิธีสำหรับพุทธศาสนิกชน

วิธีการกราบพระที่ถูกต้อง

การกราบ (อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะลงจรดพื้นหรือจรดมือ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบนตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า หมอบกราบ

การกราบมี ๒ ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่

การกราบเบญจางคประดิษฐ์ ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การที่ให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี ๓ จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ

ท่าเตรียมกราบ
ท่าเตรียมกราบ

ท่าเตรียมกราบ

ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่ง บนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้ง สองข้าง (ท่าเทพบุตร)

หญิง นั่งคุกเข่าปลาย เท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบน หน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา)

จังหวะที่ ๑ (อัญชลี)

ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก

จังหวะที่ ๑ (อัญชลี)
จังหวะที่ ๑ (อัญชลี)

จังหวะที่ ๒ (วันทา)

ยกมือขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก

จังหวะที่ ๒ (วันทา)
จังหวะที่ ๒ (วันทา)

จังหวะที่ ๓ (อภิวาท)

ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ำห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด พื้นระหว่างมือได้

จังหวะที่ ๓ (อภิวาท)
จังหวะที่ ๓ (อภิวาท)

ชาย ให้กางศอกทั้งสองข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น หลังไม่โก่ง

หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย

ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง แล้วยกมือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง การกราบไม่ควรให้ช้าหรือเร็วเกินไป

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น