วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันเทโวโรหณะ

ภาพพุทธประวัติ โดย อ.กฤษณะ สุริยกานต์

วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หลังออกพรรษาตักบาตรเทโว

ในวันออกพรรษา ตามประวัติกล่าวว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ หลังจากที่เสด็จไปเพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาในดาวดึงส์พิภพ ครั้นจวนถึงวันออกพรรษาเหล่ามหาชนผู้เฝ้าคอยรับเสด็จทราบจาก พระโมคคัลลานะเถระ เมื่อครั้งแสดงฤทธิ์เหาะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ดาวดึงส์พิภพว่าพระบรมศาสดาจะเสด็จสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมือง สังกัสสะนคร อันเป็นเมืองที่พระสารีบุตรเถระจำพรรษาอยู่

ภาพพุทธประวัติ โดย อ.กฤษณะ สุริยกานต์
ภาพพุทธประวัติ โดย อ.กฤษณะ สุริยกานต์

มหาชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันออกเดินทางไปสู่เมืองดังกล่าว ฝ่ายท้าวสักเทวราช (พระอินทร์) เมื่อทราบพุทธประสงค์ดังนั้น จึงนิรมิตบันไดทิพย์ทั้ง ๓ คือ บันไดแก้ว ให้อยู่ตรงกลาง สำหรับส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าลงจากดาวดึงส์ เบื้องขวาเป็นบันไดทองสำหรับท้าวสักกเทวราช และ เทพยดาทั้งหลาย เบื้องซ้ายเป็นบันไดเงินสำหรับหมู่พรหมทั้งหลายที่ตามส่งเสด็จ เชิงบันได้ทิพย์ทั้ง ๓ นี้ได้ทอดจาก ยอดเขาสิเนรุราช หรือ เขาพระสุเมรุอันเป็นที่ตั้งแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงสู่เมืองสังกัสสะนคร

เมื่อได้เวลาเสด็จพระบรม ศาสดาทรงประทับยืนท่ามกลางหมู่เทพยดา พระอินทร์ และพรหมทั้งหลาย แล้วทรงทำ “โลกวิวรณปาฏิหาริย์” คือ “ทรงเปิดโลก” ทั้ง ๓ อันได้แก่ เทวโลก ยมโลก และมนุษย์โลก ให้มองเห็นถึงกันหมด ด้วยพุทธานุภาพ โดย ทอดพระเนตรไปในทิศต่าง ๆ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง ทั้ง ๑๐ ทิศ พร้อมกับเปล่งพระฉัพพรรณรังสี ๖ ประการ (รัศมีที่ออกมาจากพระวรกาย) ในเวลานั้น ทุกหนทุกแห่งสามารถมองทะลุเห็นกันได้โดยตลอด เหล่าเทพยดาในสวรรค์มองเห็นมนุษย์และสัตว์นรก มนุษย์มองเห็นเทพยดาและสัตว์นรก สัตว์นรกมองเห็นเทพยดาและมนุษย์

เมื่อทรงทำปาฏิหาริย์เปิดโลกแล้ว พระบรมศาสดาจึงเสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์สู่เมืองสังกัสสะนคร ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ และในการเสด็จลงจากเทวโลกในวันนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเทวดาและมนุษย์ โดยตลอด เวลานั้นทรงตรัสถามปัญหาแก่ บุคคลตั้งแต่ภูมิชั้นต้น ชั้นต่ำ จนถึงภูมิชั้นสูง

เมื่อทรงตั้งปัญหาถามในภูมิชั้นใด บุคคลผู้ได้ภูมิชั้นนั้นก็ตอบปัญหานั้นได้ แต่ก็ไม่อาจจะตอบปัญหาที่สูงกว่าภูมิของตนได้ ได้ตรัสถามเรื่อยมาจนถึงภูมิของพระอัครสาวกเบื้องขวาคือพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ตอบได้ แต่เมื่อทรงได้ตั้งปัญหาถามในชั้นพุทธภูมิที่สูงกว่าภูมิของพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ตอบไม่ได้

ที่ตอบไม่ได้นั้น ก็เพราะไม่ทราบพระพุทธอัธยาศัยว่า จะมีพุทธอัธยาศัยให้ตอบโดยนัยไหน ท่านยกตัวอย่างปัญหา ที่ถามในพุทธภูมิว่า

บุคคลผู้ที่มีธรรมะอันนับ คือพิจารณารู้ตลอดแล้ว (หมายถึงพระอเสขบุคคล คือพระอรหันต์) กับบุคคลผู้ที่ยังเป็นเสขะ (คือยังต้องศึกษา หมายถึง ท่านผู้บรรลุภูมิพระโสดาบันขึ้นมา จนถึงภูมิของพระอนาคามี) บุคคลสองจำพวกนี้มีความประพฤติเป็นอย่างไร

ปัญหานี้พระสารีบุตรไม่ทราบพระพุทธอัธยาศัยว่า มุ่งจะให้ตอบในนัยไหน แต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทานนัย มุ่งจะให้ตอบในนัยขันธ์ พระสารีบุตรก็เกิดปฏิภาณขึ้นจึงตอบได้ ในการตอบปัญหานั้นจำจะต้องรู้นัย คือ ความประสงค์ของปัญหา หรือของผู้ถาม เมื่อตอบให้ถูกตามประสงค์ก็เป็นอันใช้ได้

ดั่งปัญหาธรรมะว่า คนดีคือคนอย่างไร ก็กว้างมาก ถ้าจะตอบ ยกเอาธรรมะในนวโกวาทมาก็ได้เกือบจะทุกข้อ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องพิจารณาให้รู้ความประสงค์ของผู้ถามหรือของปัญหา ว่า มุ่งจะให้ยกเอาธรรมข้อไหนขึ้นมาตอบ และเมื่อตอบให้ถูกความประสงค์ได้ก็เป็นอันใช้ได้ ตอบนิดเดียวก็ใช้ได้ แต่ถ้า ตอบผอดความประสงค์ยกเอาธรรมะมาตอบทั้งเล่ม บางทีก็ไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเมื่อมาถึงปัญหาที่เป็นพุทธภูมิ พระสารีบุตรก็จำจะต้องได้นัย และเมื่อได้นัยแล้วก็ตอบได้

ทางบันไดสวรรค์ที่ลงสู่ประตูเมืองสังกัสสะนคร ที่ตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี และสถานที่นั้นประชาชนถือว่าเป็น ศุภนิมิต จึงสร้าง พระเจดีย์ขึ้นเป็น “พุทธบูชานุสาวรีย์” เรียกว่า “อจลเจดีย์” ในวันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์พิภพนั้น พุทธบริษัทจึงพร้อมใจกันใส่บาตรแด่พระพุทธองค์ พร้อมทั้งพระสงฆ์ทั้งหมดที่อยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งพุทธบริษัทที่มาร่วมในพิธีดังกล่าว ก็ไม่ได้นัดหมายกันก่อนล่วงหน้า

แต่ปรากฏว่าการใส่บาตรในวันนั้นเนืองแน่นไปด้วยผู้คน ผู้คนเข้าไม่ถึงพระที่มารับบิณฑบาต ประชาชนจึงนำเอาข้าวสาลีของตนห่อ หรือทำเป็นปั้นๆ แล้วโยนเข้าไปถวายพระ ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยน ตลอดจนเป็นส่วนสำคัญของการตักบาตรเทโวโรหณะ และเป็นประเพณีสืบต่อมา

เพื่อรักษาจารีตที่ปรากฏขึ้นในวันนั้น พุทธบริษัทในภายหลังจึงนิยมสืบ ๆ กันมา จนเป็นประเพณี ว่าถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ควรทำบุญตักบาตร ให้เหมือนครั้งดั้งเดิม ซึ่งเรียกกันว่า “ตักบาตรเทโวโรหณะ” จนทุกวันนี้สำหรับพิธีตักบาตรเทโวโรหณะที่นิยมกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ นิยมจัดทำขึ้นในวัด และถือเป็นหน้าที่ของทางวัดนั้น ๆ และทายก ทายิการ่วมกันจัด โดยมีวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น