ความรู้ทั่วไป

ความรู้เรื่องศีล ๕

ความรู้เรื่อง ศีล ๕ รักษาศีล ๕ แล้วได้อะไร

เรื่องของศีลข้อที่ ๑ คือเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการเบียดเบียนชีวิตซึ่งกันและกัน เนื่องจากชีวิตเป็นสิ่งที่ทุกคนรัก ทุกคนหวงแหน แม้สัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน รักชีวิต หวงชีวิต กลัวชีวิตจะต้องตาย ทุกๆ ชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย ต่างดิ้นรนต่อสู้ทุกวิถีทาง เพื่อให้ชีวิตของตนอยู่รอด แคล้วคลาดปลอดภัยอยู่ดีมีสุข พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติศีลข้อที่ ๑ ด้วยเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายรักชีวิตของตนเป็นอันดับ ๑

ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติปาตาเวรมณี

เว้นจาการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า..ถ้าไม่เว้นย่อมยังสัตว์ให้ไปเกิดในนรก ในสัตว์เดรัจฉานในเปรตวิสัย

และเมื่อเกิดเป็นมนุษย์อีกจะได้รับผล ๙ ประการ คือ

  1. เป็นคนทุพพลภาพ
  2. เป็นคนรูปไม่งาม
  3. มีกำลังกายอ่อนแอ
  4. เป็นคนเฉื่อยชา
  5. เป็นคนขี้ขลาด
  6. เป็นคนผู้อื่นฆ่า, และฆ่าตัวเอง
  7. โรคภัยเบียดเบียน
  8. ความพินาศของบริการ
  9. อายุสั้นและให้ผลติดต่อกันหลายชาติ

รักษาศีลข้อที่ ๑ แล้วได้อะไร

  1. ได้รับผลปฏิสนธิกาล คือได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นเทวดา เรียกว่า กามสุคติภูมิ
  2. ได้รับผลในปวัตติกาล คือ หลังจากเกิดแล้ว เช่น หลังจากเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ได้รับผลอีก ๒๓ ประการ

อานิสงส์แห่งการรักษาศีลข้อที่ ๑ มี ๒๓ ประการ

  1. สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่
  2. มีร่างกายสมทรง
  3. สมบูรณ์ด้วยกำลังกาย
  4. มีเท้างามประดิษฐานลงด้วยดี
  5. เป็นผู้มีผิวพรรณสดใส
  6. มีรูปโฉมงามสะอาด
  7. เป็นผู้อ่อนโยน
  8. เป็นผู้มีความสุข
  9. เป็นผู้แกล้วกล้า
  10. เป็นผู้มีกำลังมาก
  11. มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง
  12. มีบริษัทรักใคร่ไม่แตกแยกจากตน
  13. เป็นคนไม่สะดุ้งตกใจกลัวต่อภัยเวร
  14. ข้าศึกศัตรูทำร้ายไม่ได้
  15. ไม่ตายด้วยความเพียรฆ่าของผู้อื่น
  16. มีบริวารหาที่สุดมิได้
  17. มีรูปร่างสวยงาม
  18. มีทรวดทรงสมส่วน
  19. มีความเจ็บไข้น้อย
  20. ไม่มีเรื่องเสียใจเศร้าโศก
  21. เป็นที่รักของชาวโลก
  22. ไม่พลัดพรากจากสิ่งที่รักและชอบใจ
  23. มีอายุยืน

ศีลข้อที่ ๒ อทินนาทาเวรมณี

เว้นจากลักทรัพย์ด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นลัก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า อทินนาทาน อันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมยังสัตว์ให้ไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์มีสมบัติก็ต้องพินาศ

เมื่อเกิดเป็นมนุษย์อีกจะได้รับผล ๖ ประการ

  1. เป็นคนด้อยทรัพย์
  2. เป็นคนจากจน
  3. เป็นคนอดอยาก
  4. ไม่ได้สมบัติที่ตนต้องการ
  5. ต้องพินาศในการค้า
  6. ทรัพย์พินาศเพราะภัยต่างๆ เช่น อัคคีภัย อุทกกภัย วาตภัย ราชภัย โจรภัย เป็นต้น

รักษาศีลข้อที่ ๒ แล้วได้อะไร

  1. ได้รับผลในปฏิสนธิกาล คือได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา เรียกว่า กามสุคติภูมิ
  2. ได้รับผลในปวัตติกาล คือ หลังจากเกิดเป็นมนุษย์แล้วจะได้รับผลอีก ๑๑ ประการ

อานิสงส์ของการรักษาศีลข้อที่ ๒ มี ๑๑ ประการ

  1. จะเป็นผู้มีทรัพย์มาก
  2. มีข้าวของและอาหารมาก
  3. หาโภคทรัพย์ได้ไม่สิ้นสุด
  4. โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น
  5. โภคทรัพย์ที่ได้ไว้แล้วก็ยั่งยืนถาวร
  6. หาสิ่งที่ปรารถนาได้รวดเร็ว
  7. สมบัติไม่กระจายด้วยภัยต่างๆ
  8. หาทรัพย์ได้โดยไม่ถูกแบ่งแยก
  9. ได้โลตุตตรทรัพย์คือนิพพาน
  10. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
  11. ไม่รู้ไม่เคยได้ยินคำว่าไม่มี

ศีลข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี

เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ถ้าไม่เว้นจะเกิดอะไรขึ้น..พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลเสพแล้ว เจริญให้มากแล้วย่อมยังสัตว์ให้ตกนรกในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานในเปรตวิสัย

ทำกามเมสุมิจฉาจาร แล้วได้อะไร

ทำแล้วหากเกิดเป็นมนุษย์อีกได้รับผล ๑๑ ประการคือ

  1. มีผู้เกลียดชังมาก
  2. มีผู้ปองร้ายมาก
  3. ขัดสนทรัพย์
  4. ยากจนอดอยาก
  5. เป็นหญิง
  6. เป็นกระเทย
  7. เป็นชายในตระกูลต่ำ
  8. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
  9. ร่างกายไม่สมประกอบ
  10. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
  11. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

ผลทั้ง ๑๑ ประการนี้เป็นเศษของกรรมกาเมสุมิจฉาจาร ให้ผลหลังจากไปตกนรกไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน หรือจากไปเกิดเป็นเปรตมาแล้ว เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้รับผลจากกาเมสุมิจฉาจารในปวัตติกาลดังกล่าว

รักษาศีลข้อที่ ๓ แล้วได้อะไร

การละเว้นจากการประพฤติผลในกามเสียได้ จะได้รับผล ๒ ขึ้นคือ

  1. ได้รับผลในปฏิสนธิกาล คือเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา เรียกว่าได้ปฏิสนธิในกามสุคติภูมิ
  2. ได้รับผลในปวัตติกาล คือ หลังจากเกิดแล้วเช่นถ้าเกิดเป็นมนุษย์ จะได้รับผลอีก ๒๐ ประการ

อานิสงศ์ของการรักษาศีลข้อที่ ๓ มี ๒๐ ประการ

  1. ไม่มีข้าศึกสัตรู
  2. เป็นที่รักของคนทั่วไป
  3. นอนเป็นสุข
  4. ตื่นก็เป็นสุข
  5. พ้นภัยในอบายภูมิ
  6. ไม่อาภัพไม่เกิดเป็นหญิงหรือกระเทย
  7. ไม่โกรธง่าย
  8. ทำอะไรก็ได้โดยเรียบร้อย
  9. ทำอะไรเปิดเผยแจ่มแจ้ง
  10. มีความสง่า คอไม่ตก
  11. หน้าไม่ก้ม มีอำนาจ
  12. มีแต่เพื่อนรักทั้งบุรุษ และสตรี
  13. มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
  14. มีลักษณะบริบูรณ์
  15. ไม่มีใครรังเกียจ
  16. ขวนขวายน้อยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยมาก
  17. อยู่ทีไหนก็เป็นสุข
  18. ไม่ต้องกลัวภัยจากใครๆ
  19. ไม่ค่อยพลัดพรากจากของที่รัก
  20. หาข้าว, น้ำ , ที่อยู่, เครื่องนุ่งห่มได้ง่าย

ศีลข้อที่ ๔ คือให้เว้นจากการพูดเท็จ

พูดไม่เป็นความจริง พูดโกหกหรือพูดมุสา ถ้าไม่เว้นจากมุสาวาทหรือพูดเท็จอะไรจะเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรกในกำเนินดิรัจฉานในเปรตวิสัย ผลจากการกล่าวมุสาวาทอย่างเบาที่สุดย่อมยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้ เกิดเป็นมนุษย์

การกล่าวมุสาวาทแล้วจะได้อะไร การกล่าวมุสาวาทหรือการพูดเท็จปราศจากความจริง เมื่อกล่าวออกไปแล้วจะได้รับผล ๒ ขั้นคือ

  1. ได้รับผลในปฏิสนธิกาล คือเกิดในนรกดิรัจฉาน, เปรตวิสัย
  2. ได้รับผลในปวัตติกาล คือหลังจากเกิดแล้ว และผลที่จะได้รับในปวัตติกาลนี้ จะครบองค์มุสาวาทหรือไม่ก็ตาม

ถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์จะได้รับผลอีก ๘ ประการคือ

  1. พูดไม่ชัด
  2. ฟันไม่เป็นระเบียบ
  3. ปากเหม็นมาก
  4. ไอตัวร้อนจัด
  5. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
  6. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้นและปลายปาก
  7. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
  8. จิตไม่เที่ยงคล้ายคนวิกลจริต

อานิสงส์แห่งการรักษาศีลข้อ ๔ มี ๑๔ ประการ

  1. มีอินทรีย์ทั้ง ๕ ผ่องใส
  2. มีวาจาไพเพราะอ่อนหวาน
  3. มีฟันเสมอชิด สะอาด
  4. ไม่อ้วนจนเกินไป
  5. ไม่ผอมจนเกินไป
  6. ไม่สูงจนเกินไป
  7. ไม่เตี้ยจนเกินไป
  8. กลิ่นปากหอมเหมือนดอกบัว
  9. ได้สัมผัสแต่ที่เป็นสุข
  10. มีบริวารล้วนขยันขันแข็ง
  11. มีถ้อยคำที่บุคคลเชื่อถือได้
  12. ลิ้นบางแดง อ่อนเหมือนกลีบดอกบัว
  13. ใจไม่ฟุ้งซ่าน
  14. ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้

ศีลข้อที่ ๕ คือเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย

รวมถึงเครื่องดองของเมา ยาเสพติดให้โทษทุกชนิด โทษของการดื่มสุรา ทำให้เกิดความประมาทปราศจากการเคารพบิดา มารดา พี่น้อง น้า อา แม้อุปัชฌาย์อาจารย์และสมณะพราหมณ์ ผู้มีศีลก็ไม่เคารพศีลาจารวัตรในการปฏิบัติกายวาจาใจให้บริสุทธิ์ จะทำแต่การบาปหยาบช้า มีกายหยาบ วาจาหยาบ ใจหยาบ ทำแต่อกุศลเป็นนิตย์ไม่คิดสงสารสัตว์ นอกจากนี้ โทษของการดื่มสุราเมรัยยังพาให้ตกในอบาย นายนิรยบาลจะกรอกด้วยน้ำทองแดง น้ำถึงปากแลคอก็จะทำลายใส้พุงจาดกระจายตาย ตายแล้วก็จะกลับฟื้นขึ้นมา เสวยทุกขเวทยาต่อๆ กันไป เมื่อพ้นจากอบายแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ จะเป็นคนใบ้ เสียจริตผิดจากมนุษย์ทั้งหลาย จะเป็นคนใบ้ บ้า เสียจริต ผิดจากมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นภัยของชีวิตที่น่ากลัว ศีลข้อที่ ๕ สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มสุราเมรัย ของมึนเมา สิ่งเสพติดให้โทษ

ถ้าไม่เว้นอะไรจะเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า: การดื่มน้ำเมา คือสุรา และเมรัย อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ยังสัตว์ให้เป็นไปในนรกในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย ผลแห่งการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุดย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็น มนุษย์

ถ้าผิดศีลข้อที่ ๕ จะได้อะไร การดื่มสุรา เมรัย หรือสิ่งเสพติดให้โทษจะได้รับผล ๒ ขึ้น คือ

  1. ได้รับผลในปฏิสนธิกาล, เกิดในนรก, ดิรัจฉาน, เปรตวิสัย
  2. ได้รับผลในปวัตติกาล คือหลังจากเกิดแล้วและผลที่จะได้รับในปวัตติกาลนี้จะครบองค์หรือไม่ก็ตามถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์

จะได้รับผลจากการดื่มสุรา ๖ ประการ คือ

  1. ทรัพย์ถูกทำลาย
  2. เกิดวิวาทบาทหมาง
  3. เป็นบ่อเกิดแห่งโรค
  4. เสื่อมเกียรติ
  5. หมดยางอาย
  6. ปัญญาเสื่อมถอยหรือพิการทางปัญญา

รักษาศีลข้อ ๕ จะได้อะไร ถ้าเว้นจากการดื่มสุรา เมรัย หรือเว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษจะได้ผลดี ๒ ประการ

  1. ได้รับผลดีในปฏิสนธิกาล คือจะเกิดในกามสุคติภูมิ มีมนุษย์หรือสวรรค์เป็นที่เกิด
  2. ได้รับผลในปวัตติกาล คือหลังจากเกิดแล้ว

ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์จะได้รับอานิสงส์จากเว้นดื่มน้ำเมา ๓๕ ประการคือ

อานิสงศ์แห่งการรักษาศีลข้อที่ ๕ มี ๓๕ ประการ

  1. รู้กิจการ อดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
  2. มีสติตั้งมั่นทุกเมื่อ
  3. มีปัญญาดี มีความรู้มาก
  4. มีแต่ความสุข
  5. มีแต่คนนับถือยำเกรง
  6. มีความขวนขวายน้อยหากินง่าย
  7. มีปัญญามาก
  8. มีปัญญาบันเทิงในธรรม
  9. มีความเห็นถูกต้อง
  10. มีศีลบริสุทธิ์
  11. มีใจละอายแก่บาป
  12. รู้จักกลัวบาป
  13. เป็นบัณฑิต
  14. มีความกตัญญู
  15. มีกตเวที
  16. พูดแต่ความสัตย์
  17. รู้จักเฉลี่ยเจือจาน
  18. ซื่อตรง
  19. ไม่เป็นบ้า
  20. ไม่เป็นใบ้
  21. ไม่มัวเมา
  22. ไม่ประมาท
  23. ไม่หลงไหล
  24. ไม่หวาดสะดุ้งกลัว
  25. ไม่บ้าน้ำลาย
  26. ไม่งุนงง ไม่เซ่อเซอะ
  27. ไม่มีความแข่งดี
  28. ไม่มีใครริษยา
  29. ไม่ส่อเสียดใคร
  30. ไม่พูดหยาบ
  31. ไม่พูดเพ้อเจ้อไร้ประโยชน์
  32. ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน
  33. ไม่ตระหนี่
  34. ไม่โกรธง่าย
  35. ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และในสิ่งที่เป็นโทษ

อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีล ๕

ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีลมี ๕ ประการ คือ

  1. ย่อมประสบซึ่งกองแห่งโภคะใหญ่ คือความไม่ประมาทอันเป็นคุณอย่างยิ่ง
  2. ย่อมมีชื่อเสียงดีงามฟุ้งขจรไป
  3. เข้าไปในบริษัทใดก็ตามย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขิน
  4. ผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีลย่อมเป็นผู้ไม่หลง ไม่หลงตาย
  5. เบื้องหน้าเมื่อการแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ดูก่อนอานนท์ ศีลทั้งหลายเป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นประโยชน์ มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

  1. ย่อมประสบซึ่งกองแห่งโภคะใหญ่ คือความไม่ประมาท อันเป็นคุณอย่างยิ่ง
  2. ย่อมมีชื่อเสียงดีงามฟุ้งขจรไป
  3. เข้าไปในบริษัทใดก็ตามย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขิน
  4. ผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีลย่อมเป็นผู้ไม่หลวง ไม่หลงตาย
  5. เบื้องหน้าเมื่อการแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนอานนท์ ศีลทั้งหลายเป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นประโยชน์ มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

อานิสงส์การสมาทานศีล ๕ ข้อ มี ๑๐๓ ประการ

  • ศีลข้อที่ ๑ มีอานิสงส์ ๒๓ ประการ
  • ศีลข้อที่ ๒ มีอานิสงส์ ๓๑ ประการ
  • ศีลข้อที่ ๓ มีอานิสงส์ ๒๐ ประการ
  • ศีลข้อที่ ๔ มีอานิสงส์ ๑๔ ประการ
  • ศีลข้อที่ ๕ มีอานิสงส์ ๓๕ ประการ
  • รวม ๑๐๓ ประการ

ผู้สมาทานศีล ๕ ละโลกนี้ไปแล้ว มีทางไปสู่สวรรค์ ๖ ภูมิ แต่ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ทำบุญให้ทานบ้างแต่ไม่มีศีล ๕ รองรับ จะตกสู่จตุราบาย, ตกสู่อบายภูมิ, (ทุคติภูมิ)

กามสุคติภูมิแบ่งออกเป็น ๗ ภูมิ ได้แก่ มนุษย์ภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ คือ

เทวภูมิหรือสุคติภูมิ

  • ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ
  • นิมมานนรดีภูมิ
  • ดุสิตภูมิ
  • ยามาภูมิ
  • ดาวดึงสาภูมิ
  • จาตุมาหาราชิกาภูมิ

มนุษย์โลกภูมิ จตุราบายหรือทุคติภูมิ

  • เดียรัจฉาน
  • เปรต
  • อสุรกาย
  • สัตว์นรก

ค้าขายร่ำรวย ร้อยล้าน รับมรดก มีที่ดินร้อยล้าน รับราชการมีทรัพย์สินร้อยล้าน เป็น ร.ม.ต. เป็น ส.ส. มีเงินร้อยล้าน เหล่านี้ไม่มีศีล ๕ รองรับ ไม่สมาทานศีล ๕ ปิดประตูสวรรค์ เปิดประตูนรก ตกสู่อบายภูมิ สัตว์นรก, อสุรกาย, เปรต, สัตว์เดียรัจฉาน ประพฤติศีล ๕ ข้อ ทำบุญใส่บาตรผู้มีศีล ประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ ละโลกนี้ไปแล้วจติจิตไปปฏิสนธิในโลกสวรรค์ ทันที ผู้สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ทุกวัน ปิดประตูนรก เปิดประตูสวรรค์ มีโอกาสไปอุบัติใน สุคติภูมิหรือเทวภูมิ ๖ ชั้นนั้น จะไปอุบัติในเทวโลกภูมิใดนั้นแล้วแต่กำลังบุญกุศลทำไว้ในโลกมนุษย์ ผู้ปราศจากกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ คือพระอริยบุคคล

ทำอะไรด้วยสติปัญญา เป็นบุญเป็นกุศล
ทำอะไรขาดสติปัญญา เป็นบาปเป็นอกุศลฯ
การ ลด ละ เลิก จากโลภะ โทสะ โมหะได้ เป็นสิ่งประเสริฐสุด

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น