ธรรมประพันธ์

วิธีสร้างบุญบารมี (ฉบับพิมพ์ปี พ.ศ. ๒๕๕๖)

คำว่าบุญ แปลตามศัพท์หรือพยัญชนะว่า ชำระ ฟอกล้าง โดยย่อ หมายถึงบุญส่วนเหตุ ๑ บุญส่วนผล ๑

บุญส่วนเหตุนั้น หมายถึงศึกษา คือฟังเรียนให้รู้ และดำรงมั่น เสพปฏิบัติเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย เช่น ปฏิบัติเจริญธรรม ๓ ประการ คือ ทาน ๑ ทมะ ๑ สัญญมะ ๑

กล่าวโดยย่อ บุญส่วนเหตุ ได้แก่กุศลเจตนา กุศลกาเม สุจริต กุศลธรรม บุญกิริยาวัตถุทั้งปวง ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา บารมี คือ พุทธบารมี ปัจเจกโพธิบารมี สาวกบารมี มรรคมีองค์แปด ซึ้งล้วนเป็นเครื่องชำระฟอกล้างกิเลสาสวะทั้งปวง

ส่วนบุญส่วนผล ก็สรุปเข้าในมนุษยสมบัติ เทวสมบัติ นิพพานสมบัติ สรุปเข้าเป็นความสุขที่น่าปรารถนาใคร่รักพอใจ ตลอดถึงมรณสุข คือ นิพพาน อันเกิดจากกรรมวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งกรรมของตน ทำให้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ โดยเฉพาะทำให้จิตบริสุทธิ์จากกิเลสาสวะไปโดยลำดับจนถึงทั้งหมด

สด.พระญาณสังวร

วัดบวรนิเวศวิหาร

พระนิพนธ์ วิธีสร้างบุญบารมี ที่ถูกต้อง

วิธีสร้างบุญบารมี เป็นพระนิพนธ์ ในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่ได้รับความนิยมอย่างมากเรื่องหนึ่ง

พระนิพนธ์เรื่อง วิธีสร้างบุญบารมี มี พุทธศาสนิกชนมากมายนำไปพิมพ์เผยแพร่แจก ในโอกาสต่าง ๆ มากมาย แต่ปรากฏว่า ฉบับที่แจกกันอยู่นั้นหาได้เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระสังฆราชไม่ แต่มีผู้ประสงค์ดีรวบรวมขึ้นมาและถวายพระนามของพระองค์เป็นผู้พระนิพนธ์

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ว่ามิได้เป็นพระนิพนธ์

  1. ขึ้นต้นอ้างพจนานุกรมพุทธศาสตร์ของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. ปยุตฺโต) ในการแปลคำว่า “บุญ” ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ไม่เคยอ้างคัมภีร์รุ่นหลัง ส่วนใหญ่พระองค์อ้าง ชั้นบาลี และอรรถกถาทั้งนั้น
  2. ในเนื้อเรื่อง พูดถึงอานิสงส์ของทาน ในเชิงหนังสืออานิสงส์ร้อยแปด ดังเช่นข้อความต่อไปนี้

    ซึ่ง เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงไม่เคยแสดงพระธรรมเทศนาในรูปแบบนี้ ถ้าได้อ่านพระนิพนธ์ในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเล่มอื่น ๆ ที่มีมากมาย จะเห็นได้ชัดว่าทั้งสำนวนและเนื้อหา หาได้เป็นพระนิพนธ์ในพระองค์ไม่

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงได้นำพระนิพนธ์ เรื่อง วิธีสร้างบุญบารมี ที่ถูกต้องในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร มาเผยแพร่แก่สาธารณชน เพื่อจักได้ไม่นำคำสอนที่ผิด ๆ ไปใช้หรืออ้างอิงในพระนามของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช

ที่มา : ญาณสังวรธรรม, พระศากยวงศ์วิสุทธิ์, วัดบวรนิเวศวิหาร

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น