พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙, ศ., ดร., ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต), กรรมการมหาเถรสมาคม,เจ้าคณะภาค ๒, เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร, อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระพรหมบัณฑิต ฉายา ธมฺมจิตฺโต นามเดิม ประยูร นามสกุล มีฤกษ์ วิทยฐานะ ป.ธ.๙, พธ.บ., M.A., M.Phil., Ph.D., เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ณ ตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสำคัญ คือ
- เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
- เจ้าคณะภาค ๒
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- กรรมการมหาเถรสมาคม
- คณะเลขานุการคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
- ศาสตราจารย์ สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาปรัชญา
- ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV)
- ประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ (IABU)
บรรพชาอุปสมบท
บรรพชาเป็นสามเณร
วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ณ วัดสามจุ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี มี พระครูศรีคณานุรักษ์ วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๑๙ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
- มี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธรมหาเถร) วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์
- พระธรรมปิฎก (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร ต่อมาเป็นที่สมเด็จพระมหาธีราจารย์) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
- พระธรรมธีรราชมหามุนี (ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์) วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
วุฒิการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๑๒
- สอบได้ น.ธ.เอก
- สำนักเรียนวัดสุวรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๕๑๓
- สอบได้ ป.ธ. ๓
- สำนักเรียนวัดสุวรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๕๑๙
- สอบได้ ป.ธ.๙ (ขณะเป็นสามเณร)
- สำนักเรียนวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๐
- สอบได้ประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.)
พ.ศ. ๒๕๒๑
- ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ. เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๓
- ปริญญาโท สาขาปรัชญา จากมหาวิทยลัยเดลี (University of Delhi) อินเดีย
พ.ศ. ๒๕๒๕
- เตรียมปริญญาเอก (M.Phil.) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยลัยเดลี (University of Delhi)
พ.ศ. ๒๕๒๗
- ประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส (Diploma in French) จากมหาวิทยลัยเดลี (University of Delhi)
พ.ศ. ๒๕๒๙
- ปริญญาเอก (Ph.D.) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยลัยเดลี (University of Delhi)
ตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๓๐
- เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๓๑
- เป็นประธานองค์การเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๓๓
- เป็นเจ้าคณะ ๙ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๔๑ ถึงปัจจุบัน
- เป็นเจ้าคณะภาค ๒ รับผิดชอบเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสระบุรี
พ.ศ. ๒๕๔๒
- ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน
- ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะเลขานุการคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
พ.ศ. ๒๕๔๘
- ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารวรวิหาร เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
- ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๕๔
- ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๙
- ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์ ลงนามคำสั่งมหาเถรสมาคมที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันจันทร์ ที่ ๒๕ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๙ [คลิกอ่าน]
ตำแหน่งบริหารในมหาวิทยลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๒
- เป็นผู้อำนวยการกองวิชาการ
พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๖
- เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๕
- เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผน
พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๔๐
- เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึงปัจจุบัน
- เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๔๖
- ได้รับพระบรมราชโองการโปรด แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การบริหารงานคณะสงฆ์ในวัดและในภาค
ในฐานะเจ้าสำนักเรียนวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ได้จัดการศึกษาแผนกธรรมศึกษาจนสำนักเรียนได้รับการจัดอันดับจากแม่กองธรรมสนามหลวงให้ติดอันดับท็อปเทน คือหนึ่งในสิบของสำนักเรียนที่มีผู้สอบธรรมศึกษาได้จำนวนมาก
ในฐานะเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ได้แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถทุกวันพระขึ้น-แรม ๑๕ ค่ำเป็นประจำและได้ดำเนินการจัดอบรมพระนักเทศน์ในระหว่างเทศกาลเข้าพรรษาทุกปี ปัจจุบันจัดอบรมไปแล้วจำนวน ๒๐ รุ่น มีผู้จบการอบรมตามหลักสูตรแล้วกว่า ๕,๐๐๐ รูป จนสำนักวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์อบรมพระนักเทศน์ประจำกรุงเทพมหานคร
ได้พัฒนาพระวิปัสสนาจารย์ และส่งเสริมการปฏิบัติธรรมภายในวัดจนกระทั่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ประกาศยกย่องวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓
ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ของวัด ใช้งบประมาณกว่า ๓๐ ล้านบาท จนกระทั่งวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสนอโดยสมาคมสถาปนิกสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔
ขณะดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์อยู่นั้น ได้ปีนขึ้นสำรวจองค์พระบรมธาตุมหาเจดีย์สูง ๖๐ เมตรด้วยตนเองและได้ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ พระบูชาและพระพิมพ์จำนวนมาก จึงได้นำลงมาเก็บไว้ในหอพรินทรปริยัติธรรมศาลาซึ่งบูรณปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ด้วยงบบริจาคกว่า ๕ ล้านบาท และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์พระมีชื่อว่าประยูรภัณฑาคาร
นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการก่อสร้างท่าเรือวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารและปรับภูมิทัศน์หน้าวัดด้านท่าเรือสิ้นเงิน ๒๔ ล้านบาท และสร้างกุฏิเตชะไกรศรี สิ้นเงิน ๑๐ ล้านบาท
ปัจจุบัน กำลังดำเนินการบูรณะเขามอด้วยงบประมาณ ๓๐ ล้านบาทโดยการอุปถัมภ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ในฐานะเป็นเจ้าคณะภาค ๒ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ ถึงปัจจุบัน นอกจากจะบริหารกิจการคณะสงฆ์ในภาคให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยแล้ว ยังเป็นประธานอำนวยการการจัดอบรมบาลีก่อนสอบในภาค ๒ ตั้งแต่ชั้นประโยค ป.ธ.๑-๒ ถึง ป.ธ.๕ ณ วัดต้นสน อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง มีผู้เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ รูป
การบริหารงานในฐานะอธิการบดี
ได้ดำเนินการให้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเป็นนิติบุคคล โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระจายอยู่ภายในประเทศกว่า ๔๐ จังหวัด คือมีวิทยาเขต ๑๐ แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ ๙ แห่ง ห้องเรียน ๘ แห่ง หน่วยวิทยบริการ ๑๘ แห่ง และมีสถาบันสมทบอยู่ในต่างประเทศ ๕ แห่ง คือไต้หวัน เกาหลีใต้ ศรีลังกา สิงคโปร์ และฮังการี ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมีนิสิตระดับปริญญาตรีถึงระดับปริญญาเอกจำนวนกว่า ๒๐,๐๐๐ รูป/คน
ในฐานะอธิการบดี ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ ถึงปัจจุบัน โดยจัดหาที่ดินที่ได้จากการบริจาคและการซื้อเพิ่มเติม รวมทั้งสิ้น ๓๒๓ ไร่ และได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารต่าง ๆ ดังนี้
- อาคารสำนักงานอธิการบดี
- อาคารหอสมุดเทคโนโลยีสารสนเทศ
- อาคารหอฉัน ๗๒ พรรษาพระวิสุทธาธิบดี
- อาคารรับรองอาคันตุกะ ๙๒ ปี ปัญญานันทะ
- อาคารพิพิธภัณฑ์พระไตรปิฎก
- อาคารเรียนรวม
- อาคารมหาจุฬาบรรณาคาร ๑๕๐ ปี สมเด็จพระปิยมหาราช
- อาคารหอพักนิสิต
- อุโบสถกลางน้ำ
- หอประชุม มวก.๔๘ พรรษา
- หอวิปัสสนาภาวนา
- วัดมหาจุฬาลงกรณวราราม (กำลังดำเนินการ)
- วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (กำลังดำเนินการ)
- เรือนทรงไทย ๖๐ ปี พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
รวมงบประมาณการก่อสร้างที่ดำเนินการไปแล้วกว่า ๓,๐๐๐ ล้านบาท
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯทรงประกอบพิธีเปิดที่ทำการของมหาวิทยาลัยแห่งใหม่นี้ เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ผลงานบริหารในระดับนานาชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๑
- ลงนามในความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๕
- ลงนามในความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยหนานฮวา เมืองเจียอี้ ไต้หวัน
- ดำเนินการจัดประชุมสภาผู้นำศาสนาและจิตวิญญาณแห่งโลก ครั้งที่ ๑ ณ ประเทศไทย โดยการเป็นเจ้าภาพร่วมกับที่ประชุมสุดยอดผู้นำศาสนาและจิตวิญญาณแห่งโลก และองค์การสหประชาชาติ ในประเทศไทย (UN ESCAP)
พ.ศ. ๒๕๔๗
- ลงนามในความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
พ.ศ. ๒๕๔๗
- เป็นประธานดำเนินการจัดประชุมกรรมการสภาผู้นำศาสนาโลก ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
- เป็นประธานดำเนินการจัดประชุมเยาวชนเพื่อสันติภาพโลก ณ หอประชุมพุทธมณฑล และศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
- เป็นประธานดำเนินการจัดประชุมผู้นำชาวพุทธ ในกิจกรรมวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ ณ หอประชุมพุทธมณฑล และศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
- เป็นประธานดำเนินการจัดประชุมทางวิชาการนานาชาติว่าด้วยพระพุทธเถรวาทและมหายาน ณ หอประชุมพุทธมณฑล และศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระบรมโอสราธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุม
- เป็นประธานคณะทำงานจัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในนามประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๘
- เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ในท้ายของการประชุมครั้งนี้ ผู้นำชาวพุทธทั่วโลก ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมรับรองให้พุทธมณฑล เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก
พ.ศ. ๒๕๔๙
- เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ระหว่างวันที่ ๗-๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๕๐
- เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ระหว่างวันที่ ๒๖-๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
- ได้รับเลือกเป็นประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (International Council of the United Nations Day of Vesak)
- ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ (International Association of Buddhist Universities) ซึ่งมีสมาชิกกว่า ๑๐๐ มหาวิทยาลัยทั่วโลก และสมาคมได้เลือกมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสมาคม
พ.ศ. ๒๕๕๑
- เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
- เป็นประธานดำเนินการจัดประชุมสุดยอดอธิการบดีของสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ (IABU) ระหว่างวันที่ ๑๓–๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ๒๕๕๒
- เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติฉลองวันวิสาขบูชาโลก ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. ๒๕๕๓
- เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติฉลองวันวิสาขบูชาโลก ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. ๒๕๕๔
- เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติฉลองวันวิสาขบูชาโลก ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
- ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยฮานาโซโน่ ประเทศญี่ปุ่น และมูลนิธิหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
- เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. ๒๕๕๖
- เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๖ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครอยุธยา ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. ๒๕๕๘
- เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครอยุธยา ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. ๒๕๕๙
- เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๙ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครอยุธยา ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๑
- แสดงปาฐกถาเรื่อง “พุทธวิธีสร้างสันติภาพ” (A Buddhist Approach to Peace) ในที่ประชุมใหญ่องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ณ นครลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๓๓
แสดงปาฐกถาเรื่อง “เอกภาพในความหลากหลาย” (Unity in Diversity) ในที่ประชุมใหญ่องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
พ.ศ. ๒๕๓๖
แสดงปาฐกถาเรื่อง “จริยธรรมสากลของพระพุทธศาสนา” (Universal Morality of Buddhism) ในการสัมมนานานาชาติ จัดโดยองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
พ.ศ. ๒๕๓๗
- แสดงปาฐกถาเรื่อง “พุทธจริยธรรมกับภาวะผู้นำ” (Buddhist Ethics of Leadership) ในที่ประชุมนานาชาติ ครั้งที่ ๔ ว่าด้วยจริยธรรมกับการบริการประชาชน เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ณ กรุงสตอกโฮม ประเทศสวีเดน
- แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Buddhism and Sustainable Development) ในที่ประชุมผู้นำทางศาสนา เนื่องในการประชุมใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ เรื่อง ประชากรกับการพัฒนา เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์
- แสดงปาฐกถา เรื่อง “ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา” (Prominent Facets of Buddhism) ในการที่มหาเถรสมาคมมอบให้เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทยเข้าประชุมใหญ่ ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ครั้งที่ ๑๙ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๗ ณ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๑
- แสดงปาฐกถาเรื่อง “พุทธทัศนะเรื่องจัดการศึกษาเพื่อความสมดุล” (Educating for Balance: A Buddhist Perspective) ในการประชุมใหญ่ครั้งที่ ๙ ของสภาหลักสูตร และการสอนแห่งโลก (World Council for Curriculum and Instruction) เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๓
- บรรยายเรื่อง “พุทธทัศนะสลายความขัดแย้ง” (A Buddhist View on Conflict Resolution) ในการประชุมสุดยอดผู้นำทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพโลกในยุคสหัสวรรษ (The Millennium World Peace Summit of Religious and Spiritual Leaders) เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ณ องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๖
- แสดงปาฐกถาเรื่อง “Buddhism in Contemporary Thailand” (พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน) ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา และเป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทย ไปร่วมฉลอง ๒๕๐ ปี สยามนิกาย ณ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา
พ.ศ. ๒๕๔๗
- แสดงปาฐกถาเรื่อง “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก” (Buddhist Propagation for World Peace) ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่ ๒ (The Second World Buddhist Propagation Conference (Buddhist Summit) เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
- เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทย บรรยายเรื่อง International Recognition of the Day of Vesak (วิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ) ในกิจกรรมวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากล สหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๘
- บรรยายเรื่อง “Moral Dimension of Education for Peace (มุมมองด้านศีลธรรมในการศึกษาเพื่อสันติภาพ)” ในการประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วโลก ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
- ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “A General View On Vinaya” ในการประชุมวิชาการพุทธศาสนานานาชาติ ณ มหาวิทยาลัยซินเจีย ณ ไทเป สาธารณรัฐประชาชนจีน (ไต้หวัน) วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
- แสดงปาฐกถาเรื่อง “Theravada Buddhism in The West” (พุทธศาสนาเถรวาทในตะวันตก) ในการประชุมวิชาการนานาชาติ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กรุงเทพมหานคร วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
- แสดงปาฐกถาเรื่อง “Engaged Buddhism in the 21st Century (พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมในศตวรรษที่ ๒๑)” ณ มหาวิทยาลัยพุทธศาสนา ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
- แสดงปาฐกถาเรื่อง “A Buddhist Approach to Consciousness (พุทธทัศนะเรื่องจิต)” ในการประชุมวิชาการนานาชาติ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
- แสดงปาฐกถาเรื่อง “Well-Being A Buddhist Perspective(สุขภาพในมุมมองของพระพุทธศาสนา)” ในการประชุมวิชาการสมาคมจิตวิทยานานาชาติ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
- แสดงปาฐกถาเรื่อง “Roles of Buddhist Universities (บทบาทของมหาวิทยาลัยพุทธศาสนา)” ณ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา เมืองสะกาย ประเทศเมียนม่าร์ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
- แสดงปาฐกถาเรื่อง “Buddhist Contribution to Building a Peaceful Society (คุณูปการของพระพุทธศาสนาต่อการสร้างสังคมแห่งสันติภาพ)” ในการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ เมืองโฮจิมิน ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
เป็นวิทยากรในการประชุมผู้นำศาสนาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก (COP15–Climate Change Conference) ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ ๗ – ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
- เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในการสัมมนาพระพุทธศาสนาเถรวาทไทยและมหายานจีน เรื่อง ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาเมืองเพื่อโลกที่ดีได้ ณ วัดพระหยก นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณประชาชนจีน ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓
- เป็นวิทยากรในการประชุมผู้นำศาสนาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของโลก ณ มหาวิทยาลัยดองกุก กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ ๑๐–๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
- เป็นผู้แทนประเทศไทยกล่าวสุนทรพจน์ ในพิธีวิสาขบูชาโลก ณ สำนักงานใหญ่องค์การ UNESCO ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔
- เป็นวิทยากรบรรยายธรรมเนื่องในการเดินทางไปทำความร่วมมือทางการศึกษาพระพุทธศาสนา กับคณะสงฆ์จีน ณ วิทยาลัยสงฆ์เมืองกวางโจว วิทยาลัยสงฆ์เมืองเซี่ยงไฮ้ วิทยาลัยสงฆ์เมืองหางโจว วิทยาลัยสงฆ์หมินหนาน เมืองเซี๊ยะเหมิน วิทยาลัยสงฆ์ กรุงปักกิ่ง และพุทธสมาคมจีน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ ๑-๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔
- เป็นผู้แทนมหาเถรสมาคม เดินทางไปร่วมประชุมศาสนาเพื่อสันติภาพ ณ นครวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี ระหว่าง ๒๖-๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๔
- เป็นประธานสงฆ์เถรวาทกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดอุทยานธรรมปทีป ณ สารนาถเมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย ซึ่งสร้างขึ้นโดยองค์กรชาวพุทธนิกายเรียวยูไกนานาชาติ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
- แสดงปาฐกถาในพิธีเปิดการประชุมของ World Sangha Council ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕
งานบรรยายธรรมภายในประเทศ
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นมา เป็นวิทยากรบรรยายธรรมให้กับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- สถาบันพระปกเกล้า
- กรมการศาสนา
- สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- มหาวิทยาลัยต่างๆ
- สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
- สำนักงาน ก.พ.
- สถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการ
- สถาบันพัฒนาข้าราชการอัยการ
- สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา
- สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
- พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย
- ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
- สมาคมส่งเสริมสุขภาพจิต
- สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
- กองอนุศาสนาจารย์
- การเคหะแห่งชาติ
- กรมการแพทย์
- กรมประกันภัย
- กรมศุลกากร
- สถาบันการต่างประเทศ
- กระทรวงการต่างประเทศ
- สภากาชาดไทย
- องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- การประปานครหลวง
- สำนักงบประมาณ
- สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
- สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- กรมการปกครอง
- สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- สภาวิจัยแห่งชาติ
- สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ราชบัณฑิตยสถาน
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- กรมสอบสวนคดีพิเศษ
- สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- บริษัทการบินไทย
- บริษัทปูนซิเมนต์ไทย
- บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง
- ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้บรรยายธรรม และแสดงพระธรรมเทศนาทางสถานีวิทยุ และสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
การแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์พิเศษ
พ.ศ. ๒๕๓๗
- แสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง “สัปปุริสธัมมกถา” ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
เสด็จฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตมวาร ศพนายภาวาส บุนนาค ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรฯ
พ.ศ. ๒๕๓๙
- แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง “อิทธิบาทกถา” ในการบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
พ.ศ.๒๕๔๒
- แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง “บัณฑิตกถา” ในการที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานศพ พระมหารัชมังคลดิลก เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
- แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง “โลกติกิจฉนกถา” ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ทรงพระราชอุทิศถวาย สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ ศาลาเริง วังไกลกังวล หัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง “ธรรมทานกถา” ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จฯ ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทักษิณานุประทานอุทิศถวาย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ ศาลาเริง วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง “สาธุนรธรรมกถา” ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จฯ ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ณ ศาลาเริง วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- แสดงปาฐกถาธรรม เรื่อง “อานุภาพพระปริตร” เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานพิธีสวดมหาราชปริตรมอญ ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๓
- แสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง “โอวาทปาฏิโมกขกถา” เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ทรงสดับพระธรรมเทศนาเนื่องในวันมาฆบูชา ณ วัดประยุรวงศาวาส
การบริการวิชาการแก่สังคม
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ ถึงปัจจุบัน ได้เป็นกรรมการในคณะต่างๆ ทั้งในส่วนงานคณะสงฆ์และหน่วยงานราชการ เช่น เป็นประธานกรรมการอำนวยการโครงการฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ประธานกรรมการกำหนดนโยบายและแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ ประธานคณะทำงานของมหาเถรสมาคมในการยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ
พ.ศ. ๒๕๔๕ ประธานกรรมการจัดทำรายละเอียดสาระการเรียนรู้พระพุทธ ศาสนา ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปี ของกระทรวงศึกษาธิการ ประธานอนุกรรมการจัดทำรายละเอียดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. ๒๕๔๔ ประธานอนุกรรมการจัดอบรมครูสอนพระพุทธศาสนา ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ประธานกรรมการจัดทำหนังสือเรียนพระพุทธศาสนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมา ได้เป็นกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ และเป็นกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นอกจากนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นต้นมา ได้เป็นกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการของผู้ขอเลื่อนเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยต่างๆ
งานด้านสาธารณสงเคราะห์
- ผลงานด้านสาธารณสงเคราะห์ที่สำคัญได้แก่ การจัดส่งพระบัณฑิตอาสาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขึ้นดอยเพื่อสอนพระพุทธศาสนาและภาษาไทย พร้อมกับนำพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมา
- ทุกครั้งที่เกิดอุทกภัยในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๒ คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และจังหวัดสระบุรี ได้นำสิ่งของบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา
- ได้บริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ รวมทั้งได้จัดส่งพระนิสิตมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไปช่วยเหลือฟื้นฟูด้านจิตใจแก่ผู้ประสบภัยที่บ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗
- ได้พาคณะไปให้ความช่วยเหลือบริจาคทรัพย์และสิ่งของแก่ผู้ประสบภัยจากพายุนาร์กิส ที่ประเทศเมียนมาร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑
- เมื่อเกิดมหาอุทกภัยใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้จัดตั้งศูนย์พักพิงช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผลงานที่จัดพิมพ์เผยแพร่
พ.ศ. ๒๕๒๖
- เล่มที่ ๑. เปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับซาตร์
พ.ศ. ๒๕๓๐
- เล่มที่ ๒. พระพุทธประวัติ
พ.ศ. ๒๕๓๑
- เล่มที่ ๓. Sarte’s Existentialism and Early Buddhism
พ.ศ. ๒๕๓๒
- เล่มที่ ๔. A Buddhist Approach to Peace (พุทธวิธีสร้างสันติภาพ)
- เล่มที่ ๕. ไตรลักษณ์ในชีวิตประจำวัน
พ.ศ. ๒๕๓๓
- เล่มที่ ๖. พุทธศาสนากับปรัชญา
- เล่มที่ ๗. ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ไทย
- เล่มที่ ๘. ปรัชญากรีก
พ.ศ. ๒๕๓๔
- เล่มที่ ๙. พัฒนาชีวิตด้วยแนวคิดเชิงคุณธรรม
- เล่มที่ ๑๐.พรใดก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ
พ.ศ. ๒๕๓๕
- เล่มที่ ๑๑. ด้วยความหวังและกำลังใจ
- เล่มที่ ๑๒. กรรม การเวียนว่ายตายเกิด
- เล่มที่ ๑๓. ธรรมานุสรณ์วีรชนประชาธิปไตย
พ.ศ. ๒๕๓๖
- เล่มที่ ๑๔. คุณธรรมสำหรับนักบริหาร
- เล่มที่ ๑๕. ทางแห่งความสำเร็จ
- เล่มที่ ๑๖. ปรัชญาแก้เซ็งและสร้างสุข
- เล่มที่ ๑๗. ทำความดีมีความสุข
- เล่มที่ ๑๘. ธรรมเพื่อชีวิตใหม่
- เล่มที่ ๑๙. มองสังคมไทย
พ.ศ. ๒๕๓๗
- เล่มที่ ๒๐. ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก
- เล่มที่ ๒๐. ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก (ฉบับแก้ไขพิมพ์ครั้งที่ ๘)
- เล่มที่ ๒๑. ความรักในหน้าที่
- เล่มที่ ๒๒. อภิธรรมาวตาร (ประธานคณะผู้ปริวรรต)
- เล่มที่ ๒๓. อยู่อย่างไรให้เป็นสุข
- เล่มที่ ๒๔. Buddhist Morality
พ.ศ. ๒๕๓๘
- เล่มที่ ๒๕. สุขภาพใจ
- เล่มที่ ๒๖. สติในชีวิตประจำวัน
- เล่มที่ ๒๗. วิมุตติมรรค (ประธานคณะผู้แปล)
- เล่มที่ ๒๘. สร้างฝันให้เป็นจริง
- เล่มที่ ๒๙. ธรรมะและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- เล่มที่ ๓๐. จรรยาบรรณของข้าราชการ
- เล่มที่ ๓๑. การควบคุมสัญชาตญาณ
พ.ศ. ๒๕๓๙
- เล่มที่ ๓๒. มธุรตฺถปกาสินี นาม มิลินฺทปญฺหฏีกา (ประธานปริวรรต)
- เล่มที่ ๓๓. การบำเพ็ญและสร้างสมบารมี
- เล่มที่ ๓๔. พระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์
- เล่มที่ ๓๕. ธรรมมงคลแห่งชีวิต
- เล่มที่ ๓๖. อนุทินธรรมะ : ธรรมะสำหรับ ๓๖๕ วัน
- เล่มที่ ๓๗. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ประธานบรรณาธิการ)
พ.ศ. ๒๕๔๐
- เล่มที่ ๓๘. มณีแห่งปัญญา
- เล่มที่ ๓๙. ขอบฟ้าแห่งความรู้
พ.ศ. ๒๕๔๑
- เล่มที่ ๔๐. ปลุกปลอบใจในยามวิกฤต
- เล่มที่ ๔๑. วิทยาศาสตร์ในทรรศนะของพระพุทธศาสนา
- เล่มที่ ๔๒. Educating for Balance : A Buddhist Perspective (พุทธทัศนะ : การศึกษาเพื่อความสมดุล)
พ.ศ. ๒๕๔๒
- เล่มที่ ๔๓. พระธรรมเทศนากัณฑ์พิเศษ
- เล่มที่ ๔๔. เพื่อน
- เล่มที่ ๔๕. การคณะสงฆ์กับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๓
- เล่มที่ ๔๖. จักรพรรดิธรรม
- เล่มที่ ๔๗. กระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา
- เล่มที่ ๔๘. A Buddhist Worldview (โลกทัศน์ของชาวพุทธ)
พ.ศ. ๒๕๔๕
- เล่มที่ ๔๙. กรอบความคิดในการจัดทำสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในหลักสูตรใหม่
พ.ศ. ๒๕๔๖
- เล่มที่ ๕๐. พุทธธรรมเพื่อการพัฒนา
- เล่มที่ ๕๑. ทิศทางการศึกษาไทย
- เล่มที่ ๕๒. Buddhism in Contemporary Thailand (พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน)
- เล่มที่ ๕๓. วัดประยุรวงศาวาสวรวิหารกับราชนิกุลบุนนาค
พ.ศ. ๒๕๔๗
- เล่มที่ ๕๔. International Recognition of the Day of Vesak (วิสาขบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ)
- เล่มที่ ๕๕. มหาราชนักปฏิรูป
- เล่มที่ ๕๖. พระพุทธศาสนา : การวิจัย
พ.ศ. ๒๕๔๘
- เล่มที่ ๕๗. ธรรมรักษาใจสู้ภัยสึนามิ
- เล่มที่ ๕๘. อานุภาพพระปริตร
- เล่มที่ ๕๙. พุทธวิธีบริหาร
- เล่มที่ ๖๐. การเผยแผ่เชิงรุก
พ.ศ. ๒๕๕๐
- เล่มที่ ๖๑. พระพุทธศาสนากับความสมานฉันท์แห่งชาติ
- เล่มที่ ๖๒. ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
- เล่มที่ ๖๓. สมาธิในชีวิตประจำวัน
- เล่มที่ ๖๔. ดวงตาเห็นธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๑
- เล่มที่ ๖๕. ทำอย่างไรจึงเรียนเก่ง
- เล่มที่ ๖๖. กว่าจะมีวันนี้
- เล่มที่ ๖๗. พุทธวิธีครองรักครองเรือน (Dharma for Love and Marriage)
- เล่มที่ ๖๘. สืบสานตำนานสาริกาป้อนเหยื่อ
- เล่มที่ ๖๙. สาระนโยบายพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๕๒
- เล่มที่ ๗๐. วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่
- เล่มที่ ๗๑. พระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัม : ความเหมือนที่แตกต่าง
- เล่มที่ ๗๒. พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งปัญญา
พ.ศ. ๒๕๕๓
- เล่มที่ ๗๓. ทำไมเรารักพระเจ้าอยู่หัว
- เล่มที่ ๗๔. หัวใจพระพุทธศาสนา (The Heart of the Buddhist Teaching)
- เล่มที่ ๗๕. ปัญญาต้องคู่กับกรุณาจึงจะพาชาติรอด
- เล่มที่ ๗๖. หนังสือเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นป.๑-ม.๖ (ประธานกรรมการจัดทำ)
พ.ศ. ๒๕๕๔
- เล่มที่ ๗๗. ก้าวข้ามวิกฤตโดยเลือกตั้งให้สุจริตเที่ยงธรรม
- เล่มที่ ๗๘. ยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๕๕
- เล่มที่ ๗๙. การศึกษาเพื่อสันติสุขของสังคมไทย
- เล่มที่ ๘๐. หลักการและวิธีการเทศน์
พ.ศ. ๒๕๕๖
- เล่มที่ ๘๑. พระธรรมเทศนา ๕๗ กัณฑ์
- เล่มที่ ๘๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กับการปฏิรูปการศึกษาพระพุทธศาสนา [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๕๗
- เล่มที่ ๘๓. พระบรมธาตุมหาเจดีย์ กับรางวัลยูเนสโก
- เล่มที่ ๘๔. ธรรมราชา
- เล่มที่ ๘๕. ธรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๕๘
- เล่มที่ ๘๖. วิปัสสนากัมมัฏฐาน (Vipassana Meditation)
- เล่มที่ ๘๗. การปฏิรูปกิจการพระศาสนา
- เล่มที่ ๘๘. พระธรรมเทศนา ๖๑ กัณฑ
- เล่มที่ ๘๙. ภาพชีวิต
- เล่มที่ ๙๐. พระธรรมเทศนาในอเมริกา
- เล่มที่ ๙๑. สุชีพ ปุญญานุภาพ : คนดีศรีพระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๕๙
- เล่มที่ ๙๒. ศิลปะแห่งการเตือนตน ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๕๙
- เล่มที่ ๙๓. สุจริตธรรมกถา
- เล่มที่ ๙๔. หลักธรรมกับแนวคิดในการผลิตบัณฑิต
- เล่มที่ ๙๕. ปาปณิกธัมมกถา ธรรมะของนักบริหาร
พ.ศ. ๒๕๖๐
- เล่มที่ ๙๖. วิถีแห่งธรรมธรรมราชย์ ศาสตร์แห่งพระราชา
- เล่มที่ ๙๗. COMMON BUDDHIST TEXT : CBT
- เล่มที่ ๙๘. ศาสตร์พระราชา
เกียรติคุณและรางวัลที่ได้รับ
พ.ศ. ๒๕๓๗
- ได้รับรางวัลคนดีศรีสังคม จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๓๙
- ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๔๐
- ได้รับรางวัลมหิดลวรานุสรณ์
พ.ศ. ๒๕๔๑
- ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๔๔
- ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๔๗
- ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- ได้รับปริญญาศิลปะศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารองค์การ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
พ.ศ. ๒๕๔๘
- ได้รับรางวัลกิตติคุณ “เสมาคุณูปการ” จากกระทรวงศึกษาธิการ
- ได้รับเข็มกิตติคุณสถาบันพระปกเกล้า
- ได้รับพระราชทานรางวัล “ศาสตรเมธี” สาขาศึกษาศาสตร์ ด้านการบริหารการศึกษา จากมูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. ๒๕๔๙
- ได้รับโล่ยกย่องเป็นผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ณ ห้องส่งใหญ่ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
พ.ศ. ๒๕๕๐
- ได้รับสมณศักดิ์ ที่อัคคมหาสัทธัมมโชติกธชะ จากคณะสงฆ์และรัฐบาล ประเทศเมียนพม่าร์
- ได้รับเกียรติบัตรศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาอังกฤษ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. ๒๕๕๑
- ได้รับปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
พ.ศ. ๒๕๕๒
- ได้รับพระบรมราชโองการโปรดแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาปรัชญา
- ได้รับโล่จากสภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ในฐานะเป็นผู้บรรยายในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรครบ ๑๐ ปี การศึกษา
- ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาอังกฤษ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- ได้รับปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
- ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ประเภทวิชาปรัชญา
พ.ศ. ๒๕๕๓
- ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นนักจิตวิทยาดีเด่น สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา จากสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๔ - ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ (Humane Letters) จากมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาเวียดนาม
- ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย จากกระทรวงวัฒนธรรม
- ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ วัชรเกียรติคุณ จากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
- ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม
พ.ศ. ๒๕๕๕
- ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๖
- ได้รับรางวัลบุคคลคุณภาพแห่งปี จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (มสวท.)
- ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ ๑ (Award of Excellence) จากองค์การยูเนสโก ในการบูรณะพระบรมธาตุมหาเจดีย์ของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
- ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยบูรพา
พ.ศ. ๒๕๕๗
- ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ด้านนันทนาการดีเด่น สาขาวรรณกรรม (อ่าน เขียน พูด) จากกรมพลศึกษา เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
- ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ประเภทบุคคล
- ได้รับรางวัลจากนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการป้องกันยาเสพติด จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๙
- ได้รับการถวายสมณศักดิ์ ชั้นอัคคมหาบัณฑิตเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุด ที่รัฐบาลเมียนม่าร์ถวาย ณ กรุงเนปิดอร์ สหภาพเมียนม่าร์
- ได้รับถวายรางวัลวิริยเมธีกิตติคุณ สาขามนุษยศาสตร์ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา โดยมูลนิธิ ดร. สุข พุคยาภรณ์ - ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พ.ศ. ๒๕๖๐
- ได้รับการถวายรางวัล “เสาอโศกผู้นำศีลธรรม” จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
- ได้รับการถวายเครื่งราชอิสริยาภรณ์สหไมตรีราชมิตราภรณ์ ชั้นมหาสิริวัฒน์ ซึ่งเป็นชั้นที่ ๑ อันดับสูงสุด จากพระเจ้านโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา โดยมีเจ้าชายฤทธิราวงศ์ศรีสุวัฒน์ เอกอัครราชทูตประจำสำนักพระราชวังกัมพูชาพร้อมคณะ เป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญมาถวาย ณ หอประชุม มวก.๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย พระนครศรีอยุธยา
- ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” ประเภทบุคคล จากพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ในพิธีมอบรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์สังข์เงิน ครั้งที่ ๒๕ ประจำปี ๒๕๕๙ จัดโดยสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ณ อาคารหอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๒
- ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระเมธีธรรมาภรณ์
พ.ศ. ๒๕๓๙
- ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรมุนี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๔๓
- ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพโสภณ วิมลปริยัติกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๔๘
- ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๕๕
- ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฏ ที่ พระพรหมบัณฑิต สิทธิวรธรรมประยุต วิสุทธิศีลาจารนิวิฐ ไพศาลวิเทศศาสนกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
ข้อมูลล่าสุด : วันอังคารที่ ๒๔ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ [๘:๑๑ น.]
คณะกรรมกรรมตรวจประวัติ
ประธาน พระพรหมบัณฑิต กรรมการ คณะสงฆ์วัดประยุรวงศาสวรวิหาร ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้จัดพิมพ์ พระมหาผล วิเชฏฺฐสมโณ