ความรู้เกี่ยวกับพระสงฆ์

สีมา

สีมา แปลว่า เขต หรือ แดน

สีมานั้น มีอยู่ ๒ ประเภท คือ

  1. พัทธสีมา คือ เขตที่สงฆ์กำหนดเอาเอง แปลว่า แดนที่ผูก
  2. อพัทธสีมา คือ เขตที่เขากำหนดไว้ตามปกติของบ้านเมือง แปลว่า แดนไม่ได้ผูก

นิมิต หรือ วัตถุที่ใช้เป็นเครื่องหมายเขตแห่งสีมา มี ๘ ชนิด คือ

  1. ภูเขา หรือ ปพฺพโต
  2. ศิลา หรือ ปาสาโณ
  3. ป่าไม้ หรือ วนํ
  4. ต้นไม้ หรือ รุกฺโข
  5. จอมปลวก หรือ วมฺมิโก
  6. หนทาง หรือ มคฺโค
  7. แม่น้ำ หรือ นที
  8. น้ำ หรือ อุทกํ

พัทธสีมา ๓ ชนิด(แต่ตามคัมภีร์มหาวรรคมี ๔ ชนิด) คือ

  1. ขัณฑสีมา คือ สีมาผูกเฉพาะโรงอุโบสถ
  2. มหาสีมา คือ สีมาผูกรอบวัด
  3. สีมาสองชั้น คือ สีมาที่มีขัณฑสีมาอยู่ภายในมหาสีมา
  4. นทีปารสีมา คือ สีมาที่สมมติคร่อมฝั่งน้ำ

อพัทธสีมา ๓ ชนิด (หากนับสีมาสังกระเข้าด้วยมี ๔ ชนิด) คือ

  1. คามสีมา แดนบ้านที่ฝ่ายอาณาจักรจัดไว้
  2. สัตตัพภันตรสีมา เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นในป่าชั่ว ๗ อัพภันดร
  3. อุทกุกเขปสีมา เขตแห่งสามัคคีชั่ววักน้ำสาด
  4. สีมาสังกระ สีมาที่คาบเกี่ยวปะปนกัน

สีมาสังกระ คือ การสมมติสีมาคาบเกี่ยวกัน เช่น การสมมติสีมาใหม่คาบเกี่ยวกับสีมาเดิม

แต่สงฆ์ไม่รู้ว่าเป็นสีมาเดิม ทั้งไม่ได้ทำการสวดถอนก่อน สีมาใหม่ที่สมมติขึ้นนั้นย่อมวิบัติใช้ไม่ได้

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น