ปรินิพพาน

บุพนิมิต ๘ ประการก่อนการเสด็จปรินิพพาน

เมื่อพระบรมศาสดาสัมมสัมพุทธเจ้า ตรัสห้ามพญามารและทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ โดยตรัสกับพญามารว่า

“ดูก่อน มารผู้มีใจบาป ท่านจงมีความขวนขวายน้อยอยู่เถิด ความปรินิพพานของตถาคตจักมีในไม่ช้านี้ นับแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน”

ซึ่งการปลงมายุสังขารของพระพุทธองค์ ก่อให้เกิดความวิปริตแปรปรวนแก่โลกธาตุทั้งสิ้น มหาปฐพีมีอาการสั่นสะเทือน  ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ หมู่มวลแมกไม้แกว่งไกวด้วยแรงพายุแล้วกลับสงบนิ่ง ท้องนภากาศ กลายเป็นสีแดงเพลิงประดุจโลหิต หมู่มวลสรรพสัตว์ร้องระเบงเซ็งแซ่สนั่นหวั่นไหว พระอานนท์ พุทธอุปัฏฐาก สังเกตเห็นความวิปริตแปรปรวนของโลกธาตุดังนี้จึงออกจากร่มไม้ไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลถามถึงเหตุที่ทำให้เกิดอัศจรรย์นี้ ว่า

พระองค์ผู้เจริญ ! โลกธาตุวิปริตแปรปรวนผิดปกติ ไม่เคยมี ไม่เคยเป็น ได้เป็นแล้วเพราะเหตุอะไรหนอ”

พระผู้มีพระภาคตรัสถึงเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหวว่ามีอยู่ ๘ ประการ คือ

  1. ลมพายุกำเริบ
  2. ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล
  3. พระบรมโพธิสัตว์จุติลงสู่พระครรภ์
  4. พระบรมโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์
  5. พระบรมโพธิสัตว์ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
  6. พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมจักกัปวัตนสูตร
  7. พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าปลงมายุสังขาร
  8. พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือ นิพพานด้วยความหลุดพ้นจากสังขาร

ลมพายุกำเริบ เนื่องด้วยจักรวาลโลกธาตุนี้ประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม และธาตุ ๓ ชนิด คือ มหาปฐพี(แผ่นดิน)นี้ตั้งอยู่บนน้ำ ส่วนน้ำนั้นตั้งอยู่บนลม ส่วนลมนั้นตั้งอยู่บนอากาศ เมื่อมีเหตุให้เกิดพายุใหญ่ ย่อมยังน้ำให้ไหว เมื่อน้ำไหวแล้วย่อมยังแผ่นดินให้สั่นสะเทือนไหวตาม

ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล คือ สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิต หรือว่าเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เขาเจริญปฐวีสัญญาเพียงเล็กน้อย เจริญอาโปสัญญาอย่างแรงกล้า เขาย่อมยังแผ่นดินนี้ให้สะเทือนสั่นไหวได้

พระบรมโพธิสัตว์จุติลงสู่พระครรภ์ เมื่อนั้นย่อมเป็นเหตุให้แผ่นดินนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว

พระบรมโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ เมื่อนั้นย่อมเป็นเหตุให้แผ่นดินนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว

พระบรมโพธิสัตว์ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อนั้นย่อมเป็นเหตุให้แผ่นดินนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว

พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมจักกัปวัตนสูตร เมื่อนั้นย่อมเป็นเหตุให้แผ่นดินนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว

พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าปลงมายุสังขาร เมื่อนั้นย่อมเป็นเหตุให้แผ่นดินนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว เมื่อนั้นย่อมเป็นเหตุให้แผ่นดินนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว

ดูกรอานนท์ ! อย่างนี้แหล่ะ คราใดที่ตถาคตประสูติ ตรัสรู้ หมุนธรรมจักร ปลงมายุสังขาร และ ปรินิพพาน ครานั้นย่อมจะมีเหตุการณ์วิปริตอย่างนี้เกิดขึ้น”

พระอานนท์จึงทราบว่า บัดนี้พระพุทธองค์ทรงปลงมายุสังขารเสียแล้ว เมื่อทราบดังนั้นพระอานนท์จึงทูลว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระองค์อาศัยความกรุณาในข้าพระองค์และหมู่สัตว์ จงดำรงพระชนม์ชีพ    ต่อไปอีกเถิด อย่าเพิ่งด่วนปรินิพพาน เลย”…

“ดูกรอานนท์ ! เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ตถาคตกลับใจ  ตถาคตต้องปรินิพพานในวันเพ็ญแห่งเดือน วิสาขะ อีกสามเดือนข้างหน้านี้ อานนท์ ! เราได้แสดงนิมิตโอภาสอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอพอเป็นนัยมาไม้น้อยกว่าสิบหกครั้งแล้วว่า คนอย่างเรานี้มีอิทธิบาทภาวนาที่ได้อบรมมาด้วยดี ถ้าประสงค์จะอยู่ถึงหนึ่งกัปป์ คือ หนึ่งร้อยยี่สิปปี หรือมากกว่านั้นก็พออยู่ได้ แต่เธอหาเฉลียวใจไม่ มิได้ทูลเราเลย เราตั้งใจไว้ว่าในคราวก่อน ๆ นั้น ถ้าเธอทูลให้เราอยู่ต่อไป เราจะห้ามเสียสองครั้ง พอเธอทูลครั้งที่สามเราจะรับ  อาราธนาของเธอ แต่บัดนี้ช้าเสียแล้ว เรามิอาจกลับใจได้อีก”

“ดูกรอานนท์ ! เราเคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พึงใจเป็นธรรมดา หลีกเลี่ยงไม่ได้ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุด สิ่งทั้งหลายมีความแตกไป ดับไป สลายไป เป็นธรรมดา จะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้น เป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ ทุกสิ่งทุกอย่าง ดำเนินไป เคลื่อนไป สู่จุดสลายตัวอยู่ทุกขณะ”

และก่อนหน้านี้พระองค์ได้เคยแสดงโอฬาริกนิมิตประกาศอานุภาพแห่งอิทธิบาทภาวนาแล้วถึง ๑๖ ครั้ง ในสถานที่ ๑๖ แห่ง คือที่เมืองราชคฤห์ ๑๐ แห่ง เมืองเวสาลี ๖ แห่ง บัดนี้พญามาร ได้ทูลอาราธนาให้พระบรมศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว บัดนี้พระองค์ได้สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว วางแล้ว จะนำสิ่งนั้นกลับมาอีกด้วยเหตุใด

แสดงความคิดเห็น
เว็บไซต์พุทธะ
คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

แสดงความเห็น