ระบบวรรณะ (Caste System) เกิดจากพวก อริยะ หรือ อารยัน ซึ่งเข้ามารุกรานชนพื้นเมืองในอินเดียครั้งทำสงครามกับเจ้าของถิ่นเดิมซึ่งเรียกว่าพวก มิลักขะ (หรือ ทัสสยุ หรือทราวิฑ) จนได้รับชัยชนะ พวกมิลักขะต้องถอยร่นลงไปทางใต้ เหล่าอริยะจึงใช้ศาสนาพราหมณ์เป็นเครื่องมือในการแบ่งวรรณะ โดยถือว่าวรรณะทั้ง ๔ เกิดมาจากอวัยวะของพระพรหมที่ต่างกัน และพระพรหมได้กำหนดหน้าที่ให้วรรณะทั้ง ๔ ต่าง ๆ กันไว้เรียบร้อยแล้ว
วรรณะใหญ่ ๆ ในศาสนาพราหมณ์มีอยู่ ๔ วรรณะ ดังนี้
- วรรณะพราหมณ์ เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีขาว ซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์มีหน้าที่กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป ส่วนพวกที่เป็นนักบวชก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา
- วรรณะกษัตริย์ เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีแดง ซึ่งหมายถึงนักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันหรือ ขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือคณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม
- วรรณะแพศย์ เกิดจากพระเพลา (ตัก) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ ได้แก่พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร
- วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท (เท้า) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีดำหรือสี อื่น ๆ ที่ไม่มีความสดใส มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง
- จัณฑาล เป็นอีก
วรรณะชนชั้นหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด จัณฑาล เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม ไม่มีคนในวรรณะอื่นคบหาสมาคมด้วย
การถือวรรณะอย่างรุนแรงเช่นนี้ เป็นพื้นฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมอินเดียทั้งก่อนพุทธกาลและในสมัยพุทธกาล
แสดงความคิดเห็น
จัณฑาลเป็นวรรณะด้วยเหรอคะ
ขอบพระคุณครับ ผมแก้ไขบทความไว้แล้วครับ อ้างอิงจากหลายที่มาที่ไม่ได้จัดจัณฑาลเป็นวรรณะ โดยเฉพาะอย่างใน “มานวธรรมศาสตร์” (Manava Dharmaśāstra / Manusmṛti) ระบบวรรณะยังมีรายละเอียดอีกมาก หากเคยได้ไปเยือนอินเดียจะเห็นได้ชัดว่าระบบวรรณะนี้ฝังลึกลงไปถึงระดับความคิดและจิตใจที่มีผลต่อตัวบุคคลอย่างมากครับ